“ทุกวันนี้เรารู้สึกว่านักฟุตบอลเป็นแค่ขยะที่เลวร้ายที่สุดในโบลิเวีย” นักเตะคนหนึ่งในลีกโบลิเวียกล่าว
อเมริกาใต้เป็นทวีปที่เต็มไปด้วยทีมชาติระดับคุณภาพ ที่ทำให้แม้สมาชิกเพียงแค่ 10 ทีม แต่กลับได้รับโควตาในฟุตบอลโลก 2026 มากถึง 6 ทีมครึ่ง
แต่ถึงอย่างนั้น เบื้องหลังความยอดเยี่ยมเหล่านี้ หลายชาติก็เต็มไปด้วยปัญหา หนึ่งในนั้นคือ โบลิเวีย ที่กำลังเผชิญวิกฤติอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็น เกมลีกเตะแบบวันเว้นสองวัน, ผู้เล่นไม่ได้เงินเดือนมากถึง 18 เดือนจนมีคนตาย ไปจนถึงนักเตะถูกปล้นถึงห้องแต่งตัว
เกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา? ติดตามไปพร้อมกัน
แม้ว่า โบลิเวีย อาจจะไม่ได้เป็นทีมดังเหมือนเพื่อนร่วมทวีป อย่าง บราซิล หรือ อาร์เจนตินา แต่พวกเขาก็ไม่ได้เป็นทีมไก่กาไร้ระดับ แถมยังเคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายมาแล้วถึง 3 ครั้ง
นอกจากนี้ ในฟุตบอลโลก 2026 พวกเขาก็ยังคงมีลุ้น หลังรั้งอยู่ในอันดับ 7 ของตาราง โดยมีคะแนนตามหลังอันดับ 6 ที่ได้ไปเล่นรอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติอยู่เพียงแค่ 4 คะแนน
อย่างไรก็ดี มันกลับสวนทางกับสถานการณ์ของฟุตบอลในประเทศ เมื่อพวกเขากำลังเผชิญวิกฤติอย่างหนัก โดยเฉพาะการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อนักฟุตบอลในลีก
จากการรายงานของ FIFPro หรือ สหพันธ์นักฟุตบอลอาชีพนานาชาติ ระบุว่านักเตะในลีกโบลิเวียส่วนใหญ่ อยู่ในสถานะค้างจ่ายเงินเดือนที่มากถึง 18 เดือน
FIFPro อ้างอิงข้อมูลจาก FABOL หรือสหภาพนักฟุตบอลโบลิเวีย ว่ามีเพียงแค่ 3 ทีมจาก 16 ทีมในลีกสูงสุดที่จ่ายเดือนผู้เล่นครบถ้วนแล้ว และ 2 ทีมที่ค้างจ่ายอยู่ 1-2 เดือน ขณะที่ 11 ทีมยังค้างค่าเหนื่อยนักเตะในทีมระหว่าง 3-18 เดือน
“ผมมีเพื่อนร่วมทีมที่ต้องยืมเงินผมเพื่อกินข้าวหรือจ่ายค่าเช่า ผมรู้สึกผิดที่พวกเขาต้องมาขอยืมเงิน 50 โบลิเวียนอส (ราว 240) เพื่อให้มีกินในแต่ละวัน” นักเตะประสบการณ์สูงในลีกสูงสุดของ โบลิเวีย ที่ไม่ประสงค์จะออกนาม และขอให้เรียกว่า ‘ผู้เล่น A’ กล่าวกับ FIFPro
“ส่วนใหญ่เป็นนักเตะดาวรุ่ง เพราะว่าพวกเขาไม่สามารถหาเงินได้ ผมรู้ว่าทีมอื่นก็ติดงเินผู้เล่นหลายเดือน และมีนักเตะบางคนต้องย้ายออกจากแฟลต เพราะไม่มีเงินเจ่าย หรือ 2-3 คนต้องมาเช่าแฟลตอยู่ด้วยกัน พวกเขายังมีปัญหาเรื่องอาหารการกิน และต้องยืมเงินจากพ่อแม่”
“เราต้องการแค่สิ่งพื้นฐานที่สุด ซึ่งทำให้เราสามารถมาเลี้ยงดูครอบครัวได้ เราไม่ได้พูดถึงโบนัสด้วยซ้ำ”
ทั้งนี้ปัญหาการค้างจ่ายเงินเดือน ไม่เพียงแต่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของนักเตะในลีกโบลิเวีย ต้องแย่ลงเท่านั้น แต่มันยังทำให้เกิดเรื่องเศร้าอีกด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2024 ได้เกิดข่าวช็อคในวงการลูกหนังอเมริกาใต้ เมื่อ กิเยร์โม เดนิส ปีกชาวโคลอมเบียของ คลับ เดปอร์ติโว ซานตา ครูซ ล้มลงระหว่างการซ้อม ก่อนจะจากโลกไปด้วยวัยเพียง 24 ปี
สิ่งที่น่าเศร้าคือมันเกิดขึ้นระหว่างการซ้อมตามปกติ และเขาเองก็ไม่มีโรคประจำตัว จนมารู้ภายหลังว่าสิ่งที่ทำให้ เดนิส ต้องจากโลกไป เพราะเขาไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอ จนทำให้ร่างกายอ่อนเพลียจนเกิดภาวะหัวใจวาย เนื่องมาจากสโมสรค้างจ่ายค่าเหนื่อยมา 4 เดือน
นอกจากนี้ จากปัญหาทางการเงินที่สโมสรต้องเผชิญ ทำให้สนามฝึกซ้อมไม่มีหมอประจำ หรือแม้กระทั่งเครื่องกระตุ้นหัวใจ และรถพยาบาล นักเตะต้องช่วยกันนวดหัวใจเขา ก่อนจะพานำส่งโรงพยาบาลด้วยรถส่วนตัว แต่สุดท้ายก็ไม่ทันการ เพราะรถติดอยู่บนท้องถนน
มันชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์เลวร้ายนี้คงจะไม่เกิดขึ้น หากทุกอย่างอยู่ในสภาพที่พร้อม และที่สำคัญ เดนิส ก็คงไม่ต้องมาอยู่ในสภาพนี้ หากเขาได้รับเงินเดือนตามเวลา
อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ปัญหาเดียวที่นักฟุตบอลโบลิเวียต้องเผชิญ
ราวกับเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะท่ามกลางความตึงเครียด และความไม่มั่นคงอันเนื่องมาจากปัญหาการเงินแล้ว นักเตะในลีกโบลิเวีย กลับต้องเจอสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หลังต้องลงเตะแบบวันเว้นสองวัน
มันเป็นผลมาจาก สมาคมฟุตบอลโบลิเวีย ตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันในลีกออกไป เพื่อให้ทีมชาติมีเวลาเตรียมทีมมากขึ้น ในระหว่างเส้นทางที่กำลังมีลุ้นเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 2026 รอบสุดท้าย ที่สหรัฐฯ, แคนาดา และ เม็กซิโก
การเลื่อนเกมลีก ทำให้โปรแกรมถูกเบียดจนแน่น ทำให้บางทีมต้องลงเล่นโดยมีเวลาพักเพียงแค่ 2 วัน หรือบางทีมอาจจะต้องลงเล่นถึง 7 เกมในระยะเวลาเพียงแค่ 22 วัน หรือเฉลี่ย 3 วันต่อ 1 นัด
นี่ยังไม่นับอุปสรรคด้านภูมิประเทศ ที่เต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ที่หลายทีมต้องขึ้นไปเล่นที่สนามในระดับความสูง 3,000-4,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ที่ส่งผลต่อร่างกายเป็นอย่างมาก หรือใช้เวลาในการเดินทางหลายสิบชั่วโมง
“แค่เพียงนัดที่ 3 ผมก็รู้สึกหมดแรง และหลังจากผ่านครึ่งแรกไปได้ไม่นาน เราก็มีคนขอเปลี่ยนตัว เพราะว่าไม่มีการตอบสนองอะไรอีกแล้วในสนาม คุณเป็นเหมือนซอมบี้ เพื่อนร่วมทีมของผมหลายคนก็มีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งหรือฉีก” นักเตะ A อธิบาย
“คุณไม่มีทางหลับลง เมื่อต้องเดินทางไปที่สูง คุณต้องเล่นอย่างเข้มข้นบนพื้นราบ ที่ร้อนและเต็มไปด้วยความชื่น จากนั้นในวันเดียวกัน หรือวันต่อมา ขึ้นต้องขึ้นไปที่สูง”
“ขาของคุณจะล้า และหัวเหมือนจะระเบิด”
อันที่จริง ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนช่วงการระบาดของโควิด 19 จนทำให้ ฟีฟ่า ต้องตั้งคณะกรรมการเข้ามาแทรกแซง แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เมื่อสโมสรไม่ยอมทำตาม
“ที่โบลิเวีย สโมสรส่วนใหญ่จะไม่ทำตามความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานเหล่านี้ หมายความว่านักฟุตบอลกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่วิกฤติ” อเล็กซานดรา โกเมซ บรูวูด ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย FIFPro กล่าว
“เมื่อรวมกับข้อเท็จจริงที่ว่า สมาคมฯ ตัดสินใจที่จะไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐานด้านความเท่าเทียมและความอิสระ หมายความว่านักฟุตบอลจะไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ พวกเขาจะไม่ได้รับความคุ้มครอง และอยู่ภายใต้การควบคุมของสโมสร”
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทั้งที่ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเกือบทั้งลีก แต่กลับไม่มีใครกล้าออกมาโวย เนื่องจากจะทำให้พวกเขาไม่ได้สัญญาฉบับใหม่ หรือไม่มีทีมไหนดึงตัวไปหากหมดสัญญา
“ทุกวันนี้ นักฟุตบอลอายุระหว่าง 36-38 ปี ก็ไม่กล้าจะแสดงความเห็น และกลัวว่าตัวเองจะไม่ได้เซ็นสัญญาฉบับใหม่ และต้องเลิกเล่น” ผู้เล่นที่เรียกตัวเองว่า ‘นักเตะ B’ กล่าว
“ส่วนเด็กรุ่นใหม่ก็กลัวว่าจะไม่มีใครจ้างในปีต่อไป ส่วนคนที่ติดทีมชาติ ก็รู้ว่าหากพวกเขาออกมาสนับสนุน พวกเขาก็จะไม่ถูกเรียกติดทีมชาติอีก”
นอกจากนี้ การไม่ได้รับการคุ้มครองจากสมาคมฯ และการทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับสโมสร ยังทำให้ชีวิตของพวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยงอีกด้วย
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2024 ได้เกิดเหตุการณ์แฟนบอลของ ออลเวย์ เรดี ทีมชั้นนำของลีกโบลิเวีย บุกเข้าห้องแต่งตัวเพื่อทำร้ายและปล้นทรัพย์สินจากนักเตะ หลังทีมเผชิญความพ่ายแพ้จนหมดลุ้นแชมป์
“เป็นไปได้ยังไงที่พวกเขาเข้ามาได้ ในเมื่อมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย” ดิเอโก เมดินา กองหลัง ออลเวย์ เรดี้ กล่าวกับสื่อ
นอกจากนี้นักเตะหลายคนยังถูกไล่ล่าจากกลุ่มติดอาวุธ บางคนต้องจ่ายเงินเพื่อให้ตำรวจมาคุ้มกัน ขณะที่นักเตะคนหนึ่งบอกว่าเขาโดน อันเดรส คอสตา ประธานสโมสรทำร้าย
แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่อุกอาจ แต่สโมสรก็ไม่ได้ออกมาเทคแอคชั่นอะไรกับเรื่องนี้ รวมถึงสมาคมฯ ก็ดูจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ และทำให้นักเตะในลีกโบลิเวีย ต้องเผชิญกับความเลวร้ายต่อไป และไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อใด
“เราไม่สามารถไปต่อได้อีกแล้ว สถานการณ์มันง่อนแง่นมาก เราถูกประเมินค่าไว้ต่ำและถูกดูหมิ่น” นักเตะ A กล่าว
ถ้าพูดถึงแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยุคเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน นอกจากความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่แล้ว การให้โอกาสดาวรุ่งก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำมาตลอด แล้วก็มีดาวรุ่งหลายต่อหลายคนที่ก้าวขึ้นประดับวงการ เอาแค่กลุ่ม Class of '92 นี่ก็ระดับตำนานทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับเช่นกันว่าไม่ใช่ดาวรุ่งทุกคนที่ได้โอกาสและประสบความสำเร็จ หนึ่งในนั้นคือ มาร์นิค เวอร์ไมล์ ดาวรุ่งชาวเบลเยี่ยมที่ได้โอกาสครั้งแรก…
“ชีสรูม” ตำนานที่ไม่เคยมีจริงของท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ส ถ้าพูดถึงสนามฟุตบอลในอังกฤษ ความขลัง ความยิ่งใหญ่ อาจจะยังเป็นเรื่องแมนยู ลิเวอร์พูล เชลซี อาร์เซนอล แต่ถ้าพูดถึงความทันสมัยไม่มีทีมไหนดีไปกว่า ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์สสเตเดี้ยม สนามของสเปอร์สนั้นเป็นสนามที่ได้รับการยอมรับมากในปัจจุบันว่าทันสมัย มีทุกอย่างครบมากที่สุดในอังกฤษ…
รีซ เจมส์ แบ็กขวากัปตันทีมเชลซี ได้รับบาดเจ็บที่แฮมสตริงเป็นครั้งที่ 9 ในรอบ 5 ปี หลังจากบาดเจ็บซ้ำที่บริเวณดังกล่าวระหว่างการซ้อมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา จากการยืนยันของ เอ็นโซ่ มาเรสก้า ซึ่งเผยว่าดาวเตะวัย 24 ปีจะพลาดลงสนามในเกมพรีเมียร์ลีกนัดที่จะบุกเยือน…
ครั้งหนึ่งเขาคือแข้งดาวรุ่ง ที่ถูกเปรียบกับ คริสเตียโน โรนัลโด้ ดาวเตะระดับตำนานของโปรตุเกส อย่างไรก็ดี ตอนนี้ คาอัสโซ ดาราเม นี้เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อเขาเปลี่ยนสถานะตัวเอง จากนักเตะพรีเมียร์ลีก มาเป็นอาชญากรค้ายา และเพิ่งถูกจำคุกจากคดีแทงคน เกิดอะไรกับชีวิตของเด็กหนุ่มรายนี้…
ความประทับใจตอนซ้อม : ทำไมแข้งแมนยูพร้อมใจเรียก “อโมริม” ว่ามูรินโญ 2.0? เรียกว่ายิ่งนานวัน รูเบน อโมริม ยิ่งสร้างความตื่นเต้นให้แฟนๆรอติดตาม หลังล่าสุด Sun Sport รายงานว่านักเตะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดต่างรู้สึกทึ่งและประทับใจกับการซ้อมของ…
วิเคราะห์อนาคต : คีแรน เทียร์นีย์ คัมแบ็คในรอบหลายเดือนแต่อาจไม่ได้อยู่ยาวกับอาร์เซนอล ถ้าพูดถึง คีแรน เทียร์นีย์ กับแฟนๆทีมอื่นอาจจะมองว่าเป็นนักเตะธรรมดาคนหนึ่งไม่ได้พิเศษอะไร แต่กับแฟนๆอาร์เซนอลเขาคือที่รัก และอยากเห็นเขาสวมเสื้ออาร์เซนอลลงสนามอีกสักครั้ง ล่าสุดเมื่อวานนี้ เทียร์นีย์ เพิ่งกลับมาซ้อมได้หลังจากบาดเจ็บหัวเข่าตั้งแต่ในการแข่งขันยูโร นี่ถือว่าเป็นข่าวดีมากๆกับเขาเอง…