"ผมกลัวสมองเสื่อม ในวันที่ผมยังลงเล่นอยู่" - แกรี่ พัลลิสเตอร์
“บอลโยน” นี่คือหนึ่งในคำจำกัดความของฟุตบอลอังกฤษสมัยก่อน (ยุค80-90) ขอแค่คุณมีกองหน้าตัวใหญ่ๆ พักบอลดีๆ มีปีกที่ไม่ต้องตัดเข้าในมาทำประตู เน้นเปิดเข้าไปในกรอบเขตโทษเพื่อทำประตู ในขณะเดียวกันเกมรับก็ไม่เหมือนสมัยนี้ กองหลังของคุณไม่จำเป็นต้องใช้เท้าดี ขอแค่ความดุดัน เข้าสกัดให้ขาด รวมถึงใช้หัวเป็นเลิศ ก็คงมากเพียงพอแล้ว รวมถึงคุณภาพของลูกฟุตบอลก็ห่างกับทุกวันนี้อย่างมากแน่นอนจากเทคโนโลยีต่างๆ
นำมาซึ่งอีกหนึ่งบทสัมภาษณ์ที่น่าสนใจ สำหรับอดีตปราการหลังสุดแกร่งของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ ทีมชาติอังกฤษ ได้ออกมาเปิดเผยกับสื่อในประเทศตัวเองว่า เขามีอาการไมเกรนอย่างรุนแรงที่ส่งผลถึงสภาพร่างกายของเขา ทำให้เขาไม่สามารถแม้แต่จะลงซ้อมได้
แกรี่ พัลลิสเตอร์ ที่ลงเล่น 22 นัดให้กับทีมชาติตลอดอาชีพการค้าแข้ง 17 ปี (ปี 1984-2001) และพาทัพปีศาจแดงคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกไปทั้งหมด 4 สมัย เขากลัวปัญหาเกี่ยวกับสมองและสุขภาพของเขาในระยะยาวมาก โดยไม่ใช่เพียงตัวเขาคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ เพราะ สตีฟ โฮย์วี่ อดีตปราการหลังทีมชาติอังกฤษก็เจอผลเสียที่ตามมาเช่นกัน เมื่อ โฮย์วี่ พบปัญหาว่าสมองของตัวเองตกอยู่ในภาวะเสื่อมถอยทางสติปัญญาเร็วกว่าปกติเมื่อเข้ารับการสแกน ถึงขนาดที่ โฮย์วี่ เองฟ้องดำเนินคดีกับหน่วยงานฟุตบอลกับการที่เขาได้รับผลกระทบทางสมอง
“ผมคงจะเป็นไมเกรนปีละ 3-4 ครั้ง และมันทำให้ร่างกายผมอ่อนแอลง คุณรู้ไหม ?” แกรี่ พัลลิสเตอร์ เริ่ม
“ทั้งการมองเห็น การพูด การรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ และอาการปวดหัวอย่างรุนแรง มันจะเป็นแบบนั้นอยู่หลายชั่วโมง จนผมเริ่มรู้สึกจะอาเจียนออกมา และพออาเจียนแล้ว ความรู้สึกแย่ต่างๆ ถึงจะค่อยๆเบาลง วันรุ่งขึ้นผมจะหมดสภาพเลย แค่ขยับหัวนิดหน่อยก็ทำให้ผมรู้สึกแย่มากๆ แล้ว ผมจะต้องเจอกับ 2 วันที่ผมไม่สามาถลงซ้อมหรือลงเล่นได้ มันทำให้ให้ผมผิดหวังตลอดอาชีพค้าแข้งของผม ผมไม่คิดว่าผมพลาดลงเล่นนะ แต่ผมพลาดการซ้อมเมื่อลงเล่นมันต่างหากหละ จนกระทั่งผมเลิกเล่นฟุตบอลแล้ว อาการเหล่าถึงหายไป”
“ความกังวลและความกลัวเหล่านั้นตามหลอกหลอนคุณเสมอ และกับผู้เล่นหลายคน โดยเฉพาะกับผู้เล่นกองหลัง มันเพียงพอแล้วที่รู้ว่าผมต้องผ่านอะไรมาบ้าง ทั้งอาการไมเกรน การกระทบกระทั่ง มีโอกาสที่จะทำให้สมองของผมเสียหายได้”
ด้านสถาบันศึกษา มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ที่ตีพิมพ์ข้อมูลเรื่องนี้ไว้ในปี 2019 นำโดยที่ปรึกษานักประสาทวิทยา ดร.วิลลี่ สจ๊วร์ต พบว่าอดีตนักฟุตบอลมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับระบบประสาทมากกว่าคนปกติประมาณ 3.5 เท่า โครงการวิจัยยังพบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5 เท่าของโรคอัลไซเมอร์ โรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อมเพิ่มขึ้น 4 เท่า และโรคพาร์กินสันเพิ่มขึ้น 2 เท่า
Picks and Pick'em is here!
More teams, more wins. Join a public league and draft instantly.