ฟุตบอล

สตอรี่อย่างกับหนังมาเฟีย : เผยเบื้องหลังการเข้ามาครอบครองอาร์เซนอลของ KSE GROUP

ย้อนไปสัก 3-4 ปีก่อน โคเอนเก้ ถือว่าเป็นเจ้าของทีมที่โดนด่าหนักมากๆ “ปลิงเก้” คือชื่อเล่นของเขาที่ถูกเรียกจนติดปาก แต่กว่าที่ภาพจำเขาจะเปลี่ยนไปก็ต้องให้ใช้เงินเยอะๆเสริมตัวถึงชนะใจแฟนบอล

ซึ่งนั้นเป็นปลายทางมากๆ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเขาที่จะใช้หรือไม่ใช่เงิน น้อยคนมากที่จะทราบ ว่ากว่าที่เขาจะมาอยู่ตรงนี้ เขาต้องทำอะไรบ้าง ??? วันนี้เรามาติดตามเรื่องรางที่สนุกและซับซ้อนนี้ไปด้วยกัน

เป็นเวลามากกว่าห้าปีแล้วที่ Kroenke Sports & Entertainment (KSE) ของ Stan Kroenke ซื้อหุ้นก้อนใหญ่และก้อนสุดท้ายของ Alisher Usmanov (อลิเชีย อุสมานอฟ)

ย้อนไปในเดือนสิงหาคมปี 2018 อุสมานอฟและหุ้นส่วนธุรกิจของเขาอย่าง ฟาร์ฮัด โมชิรี ตกลงยอมรับข้อเสนอของ KSE มูลค่ากว่า 550 ล้านปอนด์ สำหรับสัดส่วนการถือหุ้น 30.04 เปอร์เซ็นต์ในสโมสร นั่นทำให้ โครเอนเก้ ถือหุ้นเกินเกณฑ์ที่สำคัญถึง 90 % จึงทำให้เกิดการบังคับซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เหลือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนอาร์เซนอล

การต่อสู้อันยาวนานของ โคเอนเก้และอุสมามอฟ ได้ข้อยุติลงเมื่อ KSE ออกแถลงการณ์ว่า

“การย้ายไปใช้โมเดลเจ้าของคนเดียวจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ดีขึ้นของสโมสรเราจะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วเพื่อส่งเสริมกลยุทธ์และความทะเยอทะยานของสโมสร”

อย่างที่บอกว่าเวลาผ่านมา 5 ปีแล้ว ตอนนี้อาร์เซนอลเป็นสโมสรที่มีโครงสร้างที่ดีและเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น

โมชิริ (หุ้นส่วนของอุสมานอฟ) กลับมาอีกครั้งในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเอฟเวอร์ตัน (ในขณะนั้น) โดย USM (ชื่อย่อของบริษัทโมชิริ) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งของอุสมานอฟพวกเขาได้อัดฉีดเงินทุนเข้าสู่ สโมสรเอฟเวอร์ตัน ผ่านการให้การสนับสนุนหลายครั้ง แต่การคว่ำบาตรของรัฐบาลที่บังคับใช้ในปี 2565 ต่อมหาเศรษฐีชาวอุซเบก–รัสเซียได้นำผลกระทบระดับหายนะมาสู่เอฟเวอร์ตัน ซึ่งนั้นไม่ใช่ความผิดของอุสมานอฟ ซะทีเดียว แต่มันก็ไม่สามารถทำอะไรได้

แต่มันจะมีช่วงหนึ่งที่แฟนอาร์เซนอลบางคนเห็น อุสมานอฟ เป็นเจ้าของที่ดีกว่า แฟนๆตอนนั้นบอกว่า “เขาสนับสนุนความตั้งใจของเขา (อุสมานอฟ) ที่จะฟื้นฟูสโมสรให้กลับมายิ่งใหญ่” ซึ่งเข้าใจได้นะ เพราะในตอนนั้นมีข้อมูลแค่นั้น

การเผชิญหน้ากันระหว่าง โครเอนเก้ VS อุสมานอฟ กินเวลานานกว่าทศวรรษครับ ช่วงนั้นเต็มไปด้วยความขมุกขมัว แม้จะคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ 3 ครั้งและผ่านเข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีกได้อย่างสม่ำเสมอ แต่เราจะเห็นความเฉื่อยของสโมสรที่มากเกินไป ไม่มีความทะเยอทะยาน และความสำเร็จที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

ในช่วงเวลานั้นสโมสรอาร์เซนอลควรจะป่วยหนักมากกว่านี้ ถ้าทีมเราไม่มีชายที่ชื่อ อาร์แซง เวนเกอร์ เขาทำได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งในเชิงบริหารและคุมทีม เขาพาทีมมาเล่นใน UCL ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งนั้นคือรายได้หลักของทีม แต่มันก็ไม่เพียงพอ ในยุคสมัยที่การแข่งขันสูงแบบนี้ ต้องยอมรับว่า “เงิน” คือปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาสโมสรแบบก้าวกระโดด ยกตัวอย่างเช่น เชลซี แมนซิตี้หรือแม้แต่ นิวคาลเซิ่ล ในปัจจุบัน

และถ้าใครจำกันได้ เวนเกอร์ แทบจะไม่เคยออกมาวิจารณ์ถึงการทำงานของฝั่งบริหารเลยในตอนนั้น แต่ไม่นานมานี่ เวนเกอร์ ก็มีพูดถึงการทำงานในช่วงเวลานั้นไว้ผ่าน beIN Sports ว่า

“ผมมีความสุขที่ได้นำสโมสรผ่านช่วงเวลาที่เงินไม่มี และตอนนี้ (สโมสร) อยู่ในรูปแบบที่พวกเขาสามารถใช้จ่ายเงินได้”

“ตราบใดที่คุณมีผู้ถือหุ้นสองคน ก็มักจะมีข้อขัดแย้งเล็กน้อยเกี่ยวกับการลงทุนเงินเสมอ หากสแตน โครเอนเก้ลงทุนเงินเป็นจำนวนมากโดยมีอุสมานอฟอยู่ที่สโมสร ถ้าเขาต้องการซื้อหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์คืน พวกเขาคงจะมีราคาแพงกว่ามาก เขาจึงตัดสินใจลงทุนเมื่อเขาถือหุ้นครบ 100 เปอร์เซ็นต์”

มันเป็นความคิดเห็นที่ค่อนข้างเซฟไม่อันตรายจากเวนเกอร์ แต่ก็ถือเป็นคำอธิบายที่กระชับที่สุดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ในประวัติศาสตร์ของอาร์เซนอล

แล้วสถานการณ์การที่น่าปวดหัวเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ ??? และ สมมติฐานของเวนเกอร์มีการตรวจสอบอย่างละเอียดหรือไม่ ???

เรื่องราวเริ่มต้นด้วย David Dein (เดวิด ดีน) อดีตรองประธานสโมสรอาร์เซนอลเราครับ ตอนนั้นอาร์เซนอลอยู่ระหว่างการย้ายไปยังเอมิเรตส์ สเตเดี้ยม และด้วยเหตุนี้ มันจึงมีข้อจำกัดทางการเงินมากขึ้น และยิ่งเมื่อ โรมัน อับราโมวิช มาถึงเชลซี ตอนนั้น ดีน ให้ความเห็นไว้ว่า “อีกไม่นานอาร์เซนอลจะต้องลงทุนจากภายนอกเพื่อแข่งขัน”

ตอนนั้นไม่มีใครรู้จักกับบอร์ดบริหารของอาร์เซนอลเหมือนทุกวันนี้ พวกเขาเริ่มพบปะกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ หนึ่งในนั้นคือ โคเอนเก้ พวกเขาพบกันที่ไฮบิวรีเฮาส์ และเยี่ยมชมสนามเอมิเรตส์ สเตเดี้ยม ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2007 โคเอนเก้ ซื้อหุ้นร้อยละ 9.9 ของอาร์เซนอลจาก “กรานาดา เวนเจอร์ส” ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ITV plc

ถึงผมจะบอกว่าทั้ง พ่อเก้และอุสมานอฟ จะแข่งขันเป็นเจ้าของอาร์เซนอล แต่ทั้งคู่ก็มีบางอย่างเหมือนกันบ้างครับ หนึ่งในนั้นคือคุณลักษณะที่เหมือนกัน อุสมานอฟและโครเอนเก้ มีร่วมกันก็คือ ในระยะหนึ่งพวกเขาทั้งคู่ไม่เคยมีตัวตนที่อาร์เซนอล หลังจากการลงทุนครั้งแรกของ Kroenke ประธาน Peter Hill-Wood (ปีเตอร์ ฮีล-วู๊ด) กล่าวเน้นย้ำว่า Arsenal “ไม่ต้องการเงินของ Kroenke และเราไม่ต้องการเงินของเขา” (ทำทรงตึงๆขึงขังเฉยๆครับ ไม่ได้เกลียดอะไรขนาดนั้น)

เดวิด ดีน เป็นตัวกลางการพูดคุยกันระหว่าง KSE และขั่วอำนาจเก่าอย่าง ฮีล-วู๊ด ให้ แต่ตอนนั้น ดีน เอง ก็ถูก ฮีล-วู๊ด และ ชิปล์ เคสวิค ตัวแทนทนายความของ Arsenal ไล่ออกจากห้องทำงาน เพราะคณะกรรมการรู้สึกว่า ดีน พยายามบ่อนทำลายพวกเขาลับหลัง ซึ่ง ดีน แย้งว่า ไม่ใช่โว้ย !!! เขาเพียงทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของสโมสร

ดีน เป็นเจ้าของหุ้นก้อนหนึ่งนับตั้งแต่เข้าร่วมคณะกรรมการบริหารในปี 1983 แม้ว่าเขาจะต้องลำบากใจที่ต้องขายหุ้นในส่วนของเขา แต่เขาก็ไม่ต้องการให้ความมั่งคั่งมากมายผูกติดอยู่กับสโมสรในรูปแบบเดิม เขารู้ตัวว่าเขาอาจจะทำได้ไม่ดีพอ (ในแง่ของการนำหุ้นที่มีไปต่อยอดทำอะไรให้สโมสร) มีเบาะแสบางส่วนเกี่ยวกับนักลงทุนที่มีศักยภาพที่ติดต่อ ดีน เข้ามาตอนนั้นว่ามีทั้ง Bernie Ecclestone จาก Formula One และ Khaldoon Al Mubarak (ใช่ครับ คุณอ่านไม่ผิด ประธานสโมสรแมนซิตี้ปัจจุบันนี้แหละครับ)

ในฤดูร้อนปีนั้น อุสมานอฟ เชิญ ดีน ให้ไปพบเขาบนเรือยอทช์ขนาดใหญ่ของเขาในซาร์ดิเนีย โดย ดีน เล่าว่า

“สิ่งแรกที่เขาทำคือทำให้ทีมที่ชนะสองครั้งในปี 1971 (มาถือหุ้นในช่วงที่ทีมชนะ) เขามีส่วนร่วมกับประวัติศาสตร์สโมสร”

ดีน เล่าต่อว่า “มันสร้างความประทับใจอย่างแน่นอน ซึ่งตรงกันข้ามกับ โคเอนเก้ ที่เป็นแค่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบลงทุน และ ไม่มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับอาร์เซนอล”

แต่ๆมันมีเรื่องพีคกว่านั้นคือ วันนั้นที่ ดีน ไปคุยกับอุสมานอฟบนเรืออ่ะ โคเอนเก้ แม่งก็อยู่บนเรือเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ลำเดียวกันนะ แต่เป็นเรือข้างๆ ซีนนี่อย่างกะหนังมาเฟียยุค 90

และ โคเอนเก้ ก็รู้ว่า ดีน อยู่ตรงนี้เลยให้คุยกับ อุสมานอฟ ก่อน ถ้าจบแล้วมานี่ต่อนะ พอ ดีน ทราบแบบนั้นเขาก็ไปเจอ โคเอนเก้ ต่อพร้อมกับ เพื่อนเก่าและที่ปรึกษา เซอร์ โรนัลด์ โคเฮน นั้นคือวันที่โคตรบ้าที่ได้ติดต่อกับมหาเศรษฐีสองคนที่มีความสนใจจะซื้อหุ้นอาร์เซนอลกับเขาโดยตรง
ในเวลานั้นไม่มีใครรู้เลยว่าการประชุมเหล่านั้นเป็นยังไงและผลลัพธ์สุดท้ายจะส่งผลกระทบต่ออาร์เซนอลตลอดทศวรรษอย่างไร ดีน เล่าต่อว่า

“แนวทางของ อุสมานอฟ แทบจะตรงกันข้าม เขาแค่ว่า จะเอาอะไรบ้าง ? ฉันต้องการซื้อทั้งสโมสร ”

“ผมรู้สึกแบบว่านี่ผมอยู่จุดนี้จริงๆหรอ กำลังคุยกับมหาเศรษฐีสองคนซึ่งมีบุคลิกที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งทั้งสองคนต้องการเป็นเจ้าของสโมสร ”

“โคเอนเก้ เป็นคนที่มีความซับซ้อนมากกว่า เขามองหาคุณค่า เขามีความสนใจในด้านอื่นๆ มากมายกับแฟรนไชส์กีฬาในสหรัฐอเมริกา ในทางกลับกัน อุสมานอฟ เป็นแฟนตัวจริงของอาร์เซนอล และแค่อยากจะเป็นเจ้าของสโมสรทันทีในราคาทางการเงินใดๆ ก็ตาม”

ตอนนั้น ดีน หวังว่าใครก็ตามที่เขาขายให้จะช่วยให้เขากลับคืนสู่ตำแหน่งบนบอร์ดได้ นั่นเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการขาย หากพวกเขาควบคุมได้ ดีน ก็จะพร้อมตกลง โคเอนเก้ ลังเล เพราะคิดว่าความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างเขากับ ดีน จะไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆที่ต้องไปตามซื้อต่อ จะไม่พอใจ

ส่วน อุสมานอฟ ไม่มีข้อกังวลใดๆ อยากได้แบบนั้นหรอ ก็เอาไป และยังขอให้ ดีน ช่วยจัดตั้งแผนการลงทุนเพื่อสร้างสัดส่วนการถือหุ้นกับคนอื่นๆของเขา ซึ่งตอนนั้น ดีน โอเคกับเสี่ยอุส และ ดีน ก็ตกลงดีลกับอุสมานอฟ แล้ว Red & White Holdings (บริษัทที่ดีนทำร่วมกับเสี่ยเพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ) ก็ถือกำเนิดขึ้น

พวกเขาเริ่มต้นด้วยหุ้นร้อยละ 15 ของ ดีน ที่ขายให้กับ อุสมานอฟ ในนานของ Farhad Moshiri Moshiri (โมชิริ) ที่เป็นพ่อค้าสินค้าขายโภคภัณฑ์ชาวอังกฤษ-อิหร่าน โมชิริเป็นแฟนบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ เขากับอุสมานอฟ เคยล้อเล่นว่าพวกเขาจะซื้อยูไนเต็ดหรืออาร์เซนอลอันไหนก็ได้

และต่อมา ดีน ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานของ Red & White โดยมีเป้าหมายว่าเขาจะรับหน้าที่นั้นที่อาร์เซนอล หาก อุสมานอฟ เทคโอเวอร์สำเร็จ อย่างไรก็ตาม นั้นพิสูจน์แล้วว่า “พูดง่ายกว่าทำ”

ในตอนแรกผู้ถือหุ้นใหญ่ของอาร์เซนอล “ไม่เต็มใจ” ที่จะพิจารณายอมมอบอำนาจให้ทั้ง อุสมานอฟ หรือ โคเอนเก้ แต่ถึงจะเป็นแบบนั้นทั้งสองคนยังคงไม่มีใครขัดขวาง โดยซื้อหุ้นเล็กๆ น้อยๆ ทุกที่ที่ทำได้

เริ่มต้นที่ อุสมานอฟ ที่เป็นผู้นำการแข่งขันนี้ในตอนแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 Red & White เป็นเจ้าของหุ้นหนึ่งในสี่ของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

โคเอนเก้ ตามหลังในตอนนั้น แต่ที่สำคัญคือเขาเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับคณะกรรมการและมันดีขึ้นมากๆ ต่อมาในปีนั้นเอง โคเอนเก้ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในตำแหน่งผู้อำนวยการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร ซึ่งเป็นเกียรติที่ไม่เคยมอบให้กับอุสมานอฟมาก่อน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เริ่มขายหุ้นเล็กน้อยให้กับ โคเอนเก้ ”เขากำลังค่อยๆหลอมรวมเข้ากับสโมสร“

จุดพลิกผันที่แท้จริงเกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2011 เมื่อ โคเอนเก้ เข้าซื้อหุ้นของทั้งแดนนี่ ฟิสซ์แมน และ เลดี้ นีน่า เบรซเวลล์-สมิธ ส่งผลให้เขามีสัดส่วนประมาณ 63%

เพื่อปิดข้อตกลงดังกล่าว โคเอนเก้ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทนายความ ทิม ลูอิส ซึ่งปัจจุบันเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานของสโมสรตั้งแต่นั้นมา

“ แม้ว่า มิสเตอร์โคเอนเก้ จะค่อนข้างใหม่กับอาร์เซนอล แต่เขาแสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นคนที่เห็นคุณค่าและเคารพประวัติศาสตร์และประเพณีของสโมสรที่พิเศษมากที่เราคอยทะนุถนอม” ปีเตอร์ ฮีล-วู๊ด ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในตอนนั้นกล่าว “เรามั่นใจว่าเขาจะเป็นผู้ดูแลที่ปลอดภัยในอนาคต”

นั้นอาจจะเป็นจุดสิ้นสุดของมัน โคเอนเก้ จำเป็นต้องยื่นข้อเสนอสำหรับหุ้นส่วนที่เหลือ และ ประเมินมูลค่าหุ้นของอุสมานอฟ ให้มีกำไรเล็กน้อย แต่แล้ว ตอก็ผุด

ครับ เมื่อ อุสมานอฟ ปฏิเสธที่จะขาย !!! อุสมานอฟยืนยันว่าเขามุ่งมั่นกับอาร์เซนอล ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง

ซึ่งในขณะนั้นผู้ถือหุ้นของ อาร์เซนอล บางคนต่อต้านอย่างจริงจังต่อเรื่องที่จะซื้อหุ้นของการลงทุนของ อุสมานอฟ (เพราะกลัวจะกินรวบคนเดียว ต้องการให้มีคนมาคานอำนาจไว้บ้าง) แต่ โคเอนเก้ ก็ยังทำต่อกับการเจรจากับ Red & White เพราะท้ายที่สุดแล้ว อุสมานอฟ เขาก็เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของสโมสร ซึ่งเหนือกว่า Fiszman

กรรมการและผู้บริหารเลยจัดการประชุมอย่างจริงใจกับ Red & White ซึ่งมักจะเป็น โมชิริ รับหน้า

ตอนนั้นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยของธุรกิจของสโมสรจะยังไม่ได้พูดคุยกัน แต่ก็มีการติดตามประเด็นเชิงกลยุทธ์ในการวางแผนแทน โมชิริ ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเหมือนที่ ดีน กับ อุสมานอฟ พยายามทำที่อาร์เซนอล เมื่อเป็นแบบนั้น มันเลยเห็นได้ชัดว่า โคเอนเก้ เป็นน่าจะผู้สืบทอดตำแหน่งที่ได้อาร์เซนอล โดย อุสมานอฟ จะถูกกีดกันมากขึ้น
แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เขาไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเกมเยือน ไม่ถูกเชิญที่ห้องแต่งตัว และไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมคณะกรรมการอย่างแน่นอน

“ อุสมานอฟ ถูกแช่แข็ง ” ดีน กล่าว “ น่าแปลกใจที่พวกเขาปฏิบัติต่อเขาอย่างเลวร้ายแบบนั้น ”

คนที่รู้จักกับอุสมานอฟส่วนใหญ่บอกว่าเขาเป็นแฟนอาร์เซนอลจริงๆ แม้จะดูแปลกๆหน่อยก็ตาม เขามีห้องสวีทสองห้องที่เชื่อมต่อกับไดมอนด์คลับที่เอมิเรตส์สเตเดียม แต่ถึงแม้จะมีความขัดแย้งกันบ้างระหว่างโคเอนเก้และอุสมานอฟ แต่พวกเขาไม่มีปัญหาส่วนตัวกัน ไม่มีใครเคยได้ยิน โคเอนเก้ พูดจาไม่ดีกับ อุสมานอฟ

ต่อมาทุกอย่างมันชัดมากขึ้นว่า อุสมานอฟ พยายามทำทุกอย่างเพื่อเอาชนะ KSE เมื่อ โคเอนเก้ ซื้อหุ้น 5,000 หุ้นจาก Fiszman ในปี 2008 และได้มีคนยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการเทคโอเวอร์ โดยมีการตั้งข้อสงสัยว่าคนร้องเรียนคือ Red & White (ของอุสมานอฟ) แม้ว่าจะไม่เคยได้รับการยืนยันต่อสาธารณะก็ตาม

ในปี 2009 อุสมานอฟ วางแผนใหม่โดยเสนอประเด็นด้านสิทธิเพื่ออัดฉีดเงินสดเข้าสู่สโมสร เวนเกอร์ เป็นหนึ่งในผู้ที่คัดค้านเรื่องนี้ ด้วยแรงหนุนจากกลุ่มนักเตะอายุน้อยของทีม เขารู้สึกว่าสโมสรไม่ต้องการเงินแบบนั้น และ คณะกรรมการก็ยินดีที่จะเห็นด้วย

ในปี 2009 อุสมานอฟ วางแผนใหม่โดยเสนอประเด็นด้านสิทธิเพื่ออัดฉีดเงินสดเข้าสู่สโมสร เวนเกอร์ เป็นหนึ่งในผู้ที่คัดค้านเรื่องนี้ ด้วยแรงหนุนจากกลุ่มนักเตะอายุน้อยของทีม เขารู้สึกว่าสโมสรไม่ต้องการเงินแบบนั้น และ คณะกรรมการก็ยินดีที่จะเห็นด้วย

“ อาร์เซนอลคือความฝันที่บางครั้งกลายเป็นภาพลวงตา และบางครั้งก็เป็นความเจ็บปวด เช่นเดียวกับหลายๆความฝัน ศักยภาพของทีมอยู่ที่นั่น แต่ไม่มีการประเมินข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องยอมรับมัน ” – อุสมานอฟกล่าวในปี 2014

และแล้ว อุสมานอฟ ก็ได้ทำในสิ่งที่พูดแบบจริงๆจังๆสักที เมื่อเขายื่นขอซื้อหุ้นจำนวน 67% ของ โคเอนเก้ ซึ่งนั้นได้รับการสนับสนุนมากจากแฟนบอลที่ตามข่าว ภาพในข่าวคือ อุสมานอฟ พยายามทำทุกอย่างเพื่อเป็นเจ้าของสโมสร ส่วน โคเอนเก้ ไม่เคยออกมาพูดอะไรผ่านสื่อทำให้แฟนบอลส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไรจากอาร์เซนอลกันแน่

“ไม่มีใครสามารถแบนผมจากการเป็นแฟนอาร์เซนอล และริบสิทธิ์ของผมในฐานะนักลงทุนรายใหญ่อันดับสองของสโมสรที่ยิ่งใหญ่แห่งอังกฤษ ซึ่งผมภูมิใจ” – อุสมานอฟ กล่าวอย่างหนักแน่น แต่อย่างที่บอกว่า พูดมันง่ายกว่าทำเสมอ

“หุ้นของ KSE ไม่ได้มีไว้ขาย” นั้นคือสิ่งเดียวที่ครอบครัว โคเอนเก้ พูดอย่างชัดเจน พวกเขาเป็นนักลงทุนระยะยาวและหุ้นของพวกเขาไม่ได้มีไว้ขาย พวกเขารู้สึกว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อสโมสรมากกว่า ส่วน อุสมานอฟที่จะขายทิ้งและเดินหน้าต่อไปทุกเมื่อ เมื่อได้กำไรมากพอ

ถึงตรงนี้แฟนบอลหลายคนอาจจะเกิดความกังวลใช่ไหมครับ เมื่อ 2 ขั่วอำนาจใหญ่ของทีมเห็นไม่ตรงกันและพร้อมจะกินรวบอีกฝ่ายทุกเมื่อ แต่ผมจะบอกว่านี่เป็นเรื่องปกติมาก

“มีสถานการณ์ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่สองรายที่ไม่ร่วมมือกัน นั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้าย หากธุรกิจสามารถหาเงินด้วยตัวเองได้ มันก็ไม่สำคัญเลย สิ่งต่างๆ อาจเป็นไปด้วยดีด้วยซ้ำ”

“แต่โดยคุณรู้ไหมอะไรคือสิ่งที่น่าเป็นห่วง ??? สิ่งที่น่าห่วงคือ สโมสรฟุตบอลต้องการการอัดฉีดเงินสดจากเจ้าของอย่างต่อเนื่อง และยิ่งทีมอื่นๆทำแบบนั้น ทีมคุณควรทำแบบนั้นบ้าง ถเาคุณไม่ทำแบบเดียวกัน คุณจะตามหลังพวกเขา และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับอาร์เซนอลในยุคที่ KSE ยังไม่ได้เป็นเจ้าของทีม 100 เปอร์เซ็นต์”

– ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ที่ขอให้ไม่เปิดเผยตัวตนให้ความเห็นไว้

ช่วงเวลาระหว่างปี 2007 ถึง 2018 คือช่วงที่ยากลำบากมากของอาร์เซนอล พวกเขาสามารถใช้จ่ายได้อย่างจำกัด การสร้างสนามกีฬาเอมิเรตส์ สโมสรได้ทำสัญญาสนับสนุนระยะยาวหลายฉบับ และนั้นคือโซ่ตรวนขนาดใหญ่ที่รอวันปลดปล่อยและมันจะช่วยสโมสรได้มากเมื่อถึงวันนั้น ในปี 2013 อาร์เซนอลทำลายสถิติการย้ายทีมเพื่อเซ็นสัญญากับ เมซุต โอซิล และพวกเขาคว้าตัว อเล็กซิส ซานเชซ ในอีก 12 เดือนต่อมา

ช่วงเวลานั้นยอดเยี่ยมมากและทีมก็คว้าแชมป์เอฟเอ คัพ และยังคงทำได้ดีเมื่อเขายังรักษาสถิติการผ่านเข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีกได้ต่อเนื่องมายาวนาน แม้ว่าโมเดลการพึ่งพาตัวเองของอาร์เซนอลจะทำให้การแข่งขันแย่งแชมป์กับ เชลซีและแมนยู เป็นเรื่องยาก แต่มันก็เป็นความภาคภูมิใจของคนจำนวนมากที่ทำงานในสโมสร พวกเขาเห็นว่ามันเป็นความสำเร็จที่ดี

และมันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มี อาร์แซน เวนเกอร์ และแน่นอนว่า เวนเกอร์ จะไม่ได้อยู่กับเราไปตลอด !!!

จนในปี 2018 โคเอนเก้ ก็สามารถเข้ามาเป็นเจ้าของทีมได้อย่างสมบูรณ์แบบ และมันก็มีหลายอย่างที่เปลี่ยนไปมาก ทีมได้มีการนำรูปแบบโครงสร้างองค์กรแบบใหม่เข้ามาใช้ มีการแต่งตั้ง ราอูล ซาเญฮี และ อุไน เอเมรี่ เข้ามา ซึ่งพวกเขาล้วนเป็นบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ และดีลไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่ออาร์เซนอลคว้าตัว นิโคลัส เปเป้ มาด้วยค่าตัว 72 ล้านปอนด์และนั้นคือสถิติใหม่ของสโมสร สิ่งนี้ทำให้เราเห็นถึงความพยายามของ KSE อย่างชัดเจน

แต่การเปลี่ยนแปลงเหมือนจะมากเกินไปในเวลาไม่กี่เดือน อาร์เซนอลใช้รูปแบบการเป็นเจ้าของที่แตกต่างออกไปจากเดิม และการปฏิวัติครั้งนี้ในช่วงแรกเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่ได้ตรงประเด็น !!!

แต่ความผิดพลาดเพียงครั้งเดียวก็เกินพอแล้ว อาร์เซนอล ที่เพิ่งผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาแบบหมาดๆ ตอนนั้นทีมเรามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารอีกครั้ง ราอูล ซานเญฮี จากไปพร้อมปัญหามากมาย อุไน เอเมรี่ เป็นด่านหน้าที่ต้องเจอกับความกดดันมหาศาลก็จากไปเช่นกัน
ถึงตรงนี้เองทีมได้เปลี่ยนแนวคิดนิดหน่อย โดยต้องการนำบุคลากรที่มี ”จิตวิญญาณของอาร์เซนอล“ เข้ามา และเป็น เอดู กับ มิเกล อาร์เตต้า คือคนนั้น

ทิม ลูอิส ถูกเพิ่มเข้ามาในบอร์ดบริหารในตำแหน่งรองประธานสโมสร และภายในหนึ่งสัปดาห์จากนั้น อาร์เซนอล ประกาศว่าพวกเขาจะปรับโครงสร้างหนี้สนามที่เหลืออยู่จำนวน 144 ล้านปอนด์ ผ่านการกู้ยืมเงินจำนวนมากจาก KSE สิ่งนี้ทำให้อาร์เซนอลไม่ต้องสำรองเงินสำรองชำระหนี้สนามปีละ 36 ล้านปอนด์ และทำให้กระแสเงินสดที่สโมสรดีขึ้นอย่างมาก

การ รีไฟแนนซ์ ได้รับการพูดคุยกันบ่อยในคณะกรรมการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ โคเอนเก้ ทำให้ชัดเจน เขาดำเนินการเมื่อเขาเป็นเจ้าของสโมสรทันที นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ KSE ทำหลังเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว การใช้จ่ายมากมายตามมาเรื่อยๆ การฟื้นฟูสโมสรเกิดขึ้นมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ๆแบบแผนงานระยะยาว 5 ปี หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆอย่างคำคมปลุกใจและกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักอยู่เสมอว่านี่คือ อาร์เซนอล นะเว้ย

KSE ยังคงปรารถนาที่จะให้ อาร์เซนอล เป็นสโมสรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่พวกเขาก็ทราบดีกว่าเพื่อให้มันเป็นจริง พวกเขาจำเป็นต้องผ่านเข้ารอบแชมเปี้ยนส์ลีกเป็นประจำ และนั้นทำให้เขาต้องลงทุนบ้างในช่วงแรก (ช่วงนี้ในปัจจุบันนี่แหละครับ)

มีการวิเคราะห์มากมายถึงผลลัพธ์ทางการเงินของมันบอกชัดเจนว่า “สิ่งนั้นคงเป็นไปไม่ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนและความมุ่งมั่นจากเจ้าของสโมสร Kroenke Sports & Entertainment” ซึ่งครอบครัวโคเอนเก้ ยอมรับและยินดีที่จะช่วยทีมอย่างเต็มที่

Puttinan Klangpethphanich

Recent Posts

มีแต่ได้กับได้! ‘ลิเวอร์พูล’ เตรียมรับเงินจาก ‘ไนกี้’ หากคว้าแชมป์สำเร็จ

สถานการณ์การลุ้นแชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนี้เริ่มชัดเจนมากขึ้นเมื่อ ลิเวอร์พูล จัดการกำราบ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ไป 0-2 ถึง เอติฮัต สเตเดี้ยม และ อาร์เซนอล ผลงานไม่เข้าตาแพ้คาถิ่นต่อ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด…

10 hours ago

ตำนาน คาสซาโน่ กับคำเตือนของ ต็อตติ “ระวังไม่ถึงเวิลด์คลาส”

  "หลังจากประตูนั้นเกิดขึ้น จากไอ้หนุ่มจากชนชั้นแรงงาน หน้าตาสกปรก และผอมแห้งแรงน้อย ก็กลายเป็นคนดัง ผมกลายเป็นคนรวย มีชื่อเสียง และกลายเป็นเด็กหนุ่มที่เท่ที่สุดในอิตาลี" คาสซาโน่ อธิบายจุดเปลี่ยนอย่างแรกเริ่ม   แม้จะตกชั้นไปกับ บารี่ ในฤดูกาล…

11 hours ago

ปฏิบัติการกู้วิกฤติ? เซอร์จิมลดค่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง นับตั้งแต่เทคโอเวอร์แมนฯยู

กลายเป็นที่พูดถึงอีกครั้งสำหรับปฏิบัติการกู้วิกฤติแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ภายใต้การบริหารของ เซอร์จิม แรตคลิฟฟ์ เมื่อล่าสุดมีรายงานว่าพวกเขาเตรียมยกเลิกอาหารฟรีสำหรับพนักงาน และปลดคนอีกราว 200 คน นั่นทำให้เกิดคำถามว่า นับตั้งแต่เซอร์จิมเข้ามาบริหาร ปีศาจแดงได้ลดค่าใช้จ่ายอะไรไปแล้วบ้าง? ติดตามเรื่องราวไปพร้อมกัน สัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นสัปดาห์ที่หนักหน่วงสำหรับ…

13 hours ago

ระดับอาจารย์ยืนยัน : รานิเอรี่ มั่นใจว่า เชส ฟาเบรกัส จะเป็นกุนซือระดับโลกในอีก 3-4 ปี

อย่างที่เราทราบกันว่า โคโม่ ทีมน้องใหญ่ของเซเรีย อา อิตาลีตอนนี้พวกเขากำลังมาแรงอย่างมาก ถึงแม้ว่าผลงานในภาพรวมจะไม่ได้อยู่ในถึงขั้นลุ้นพื้นที่ยูโรปหรืออะไร แต่ถ้าเทียบกับความคาดหวังตั้งแต่ต้น นั้นจะถือว่าพวกเขาทำได้เกินเป้าหมายไปไกลมาก หลายคนอาจจะบอกว่าเป้นเพราะกำลังทรัพย์ของทีมที่ถึงนักเตะที่มีชื่อเสียงมาได้เยอะ แต่อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ กุนซืออย่าง เชส ฟาเบรกัส ที่เป็นทั้งกุนซือและผู้ถือหุ้นของสโมสร เขามีแนวทางการทำทีมที่น่าสนใจมาก…

16 hours ago

ปลาหมอตายเพราะปากอีกแล้ว : กาลาตาซาราย ยืนยันพร้อมดำเนินการทางกฎหมายกับน้ามู

เรียกได้ว่าเสือเฒ่าที่ชื่อ โชเซ่ มูรินโญ่ ตัวนี้ยังคงไว้ลายไม่เลิกหลังในตุรกี ซูเปอร์ลีก เกมล่าสุดที่ เฟเนร์บาห์เช่เสมอกับกาลาตาซารายไป 0-0 ที่ถ้าเราดูแค่ผลการแข่งขันก็คงจะคิดว่าไม่มีอะไรมาก แน่นอนว่าภายนอกเป็นแบบนั้น แต่ถ้าเรามาดูรายละเอียดในเกมจริงๆ จะเห็นว่าเกมนี้เข้มข้นมากและก็มีหลายจังหวะที่เป็นที่กังขากัน และนั้นก็มาจากผู้ตัดสินอีกเช่นเคย นั้นทำให้ โชเซ่…

16 hours ago

ทำตามอุดมการณ์! โอซิล หยุดฟิตหุ่น หันเข้าร่วมพรรคการเมืองตุรกี

อดีตดาวแอสซิสต์ระดับเทพของ อาร์เซนอล และ เรอัล มาดริด ประกาศแขวนสตั๊ดไปเมื่อมีนาคมปี 2023 และหลังอำลาวงการฟุตบอลไป เจ้าตัวใช้เวลาส่วนใหญ่ในฟิตเนส และทุ่มเทอย่างหนักเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ ล่าสุด เมซุต โอซิล ในวัย 36…

1 day ago