แมตช์แห่งความตาย : เมื่อทีมโรงงานทำให้ “นาซี” เสียหน้า จนโดนสั่งฆ่า ?

แม้จะถือกำเนิดขึ้นในฐานะความบันเทิง แต่ในอดีตฟุตบอลก็เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านผู้รุกรานหรือเจ้าอาณานิคมในหลายกรณี เช่นกันกับในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ทว่า สำหรับ เอฟซี สตาร์ท มันกลับลงเอยไม่สวยนัก เมื่อการไม่ยอมสยบต่ออำนาจของผู้ปกครอง ด้วยการไล่ถล่มทีมของนาซีอย่างยับเยิน ทำให้พวกเขาต้องจบลงด้วยความตาย?

ย้อนกลับไปในปี 1941 ยุโรปต้องระส่ำระสายจากภัยคุกคามของนาซี หลัง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ส่งกองกำลังเข้ารุกรานประเทศข้างเคียง และ ยูเครน ที่ตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียด ก็หนีไม่พ้น

การยึดครองของนาซี ส่งผลให้ฟุตบอลลีกของยูเครน ต้องยกเลิกชั่วคราว รวมถึงหลายทีมต้องถูกยุบ ขณะที่นักเตะก็ต้องกระเส็นกระสายไปคนละทิศคนละทาง บ้างก็ไปอยู่กับกองทัพแดงของโซเวียต บ้างก็ไปอยู่กับกลุ่มต่อต้าน แต่ก็มีบางส่วนที่เลือกไปทำงานที่โรงงานขนมปัง

อย่างไรก็ดี ด้วยความรักที่มีต่อฟุตบอล ทำให้อดีตผู้เล่นที่ทำงานที่โรงงานขนมปัง ตัดสินใจก่อตั้งทีมขึ้นมาใหม่ในชื่อ “เอฟซี สตาร์ท” ที่นอกจากพวกเขาแล้วยังมีเชฟ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และตำรวจอยู่ในทีม

เอฟซี สตาร์ท ทำผลงานได้อย่างเลื่องลือ พวกเขาไล่ถล่มคู่แข่งในแทบทุกนัด จนฟอร์มไปเตะตานาซีเยอรมัน ก่อนที่ในปี 1942 พวกเขาจะได้รับเชิญไปแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ที่จัดขึ้นโดยนาซี โดยมีตัวแทนจากชาติที่เยอรมันยึดครองเข้าร่วม

แน่นอนว่าสโมสรของโรงงานขนมปัง ก็ไม่ทำให้คนยูเครนผิดหวัง พวกเขาชนะทีมจากฮังการี  6-2 ตามมาด้วยถล่มทีมจากโรมาเนียไปถึง 11-0 รวมถึงอัด เอฟซี รุช อีกตัวแทนจากยูเครน แต่เป็นพวกโปรนาซี ไปได้ 7-2

ก่อนที่นัดสุดท้าย สตาร์ท จะถล่ม ฟลาคเอลฟ์ ทีมของนาซี ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นทีมที่ดีที่สุดของยุโรป และได้รับการสนับสนุนจาก เฮอร์มันน์ เกอร์ริง มือขวาของฮิตเลอร์ ไปอย่างขาดลอย 5-1

ทว่า นาซีเยอรมัน ก็ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ พวกเขาจึงจัดการแข่งขันนัดรีเพลย์ขึ้นมาใหม่ในอีก 3 วันให้หลัง ที่สนาม สตาร์ท สเตเดียม หรือต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ เซนิท สเตเดียม

9 สิงหาคม 1942 คือดังกล่าว จากข้อมูลระบุว่าเกมนัดนั้นมีผู้ชมกว่า 2,000 คน เข้ามาให้กำลังใจ บางส่วนเล่าว่านอกจากแฟนบอล ในสนามยังเต็มไปด้วยทหารพร้อมอาวุธครบมือ รวมถึงตำรวจ และสุนัขตำรวจ ที่เข้ามาดูแลสถานการณ์

และก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้น ผู้ตัดสิน ที่เป็นตำรวจลับของนาซี หรือ เกสตาโป ยังเข้ามาบอกให้นักเตะของ สตาร์ท ต้องทำท่าแสดงความเคารพแบบนาซี ด้วยการชูมือขวาอีกด้วย แต่สุดท้ายก็ถูกปฏิเสธ

“ผมคือผู้ตัดสินในวันนี้ ผมรู้ว่าคุณเป็นทีมที่ดี โปรดทำตามกฎและห้ามทำผิดกติกา ก่อนเกมกรุณาทักทายคู่แข่งพวกคุณด้วยธรรมเนียมของเรา” ผู้ตัดสินกล่าว

และกลายเป็น ฟลาคเอลฟ์ ที่ตุกติกเอง พวกเขาเล่นแรงใส่ผู้เล่นสตาร์ท จนถึงขนาดทำให้ นิโคไล ทรูเซวิช ผู้รักษาประตูของทีมโรงงานขนมปัง ต้องถูกหามออกนอกสนามหลังถูกเตะเข้าที่ศีรษะ แต่ถึงอย่างนั้น สตาร์ท ก็ยังเป็นฝ่ายออกนำ 3-1 ใน 45 นาทีแรก

ช่วงพักครึ่ง นาซี เห็นท่าไม่ดี จึงส่งเจ้าหน้าที่มาคุยกับนักเตะสตาร์ทถึงห้องแต่งตัว พร้อมกับขู่ว่า หากหาทีมจากยูเครน ไม่ยอมแพ้ในเกมนี้ ชะตาชีวิตของพวกเขาอาจจะขาดลงหลังจบเกมนี้

“เยอรมันต้องเป็นผู้ชนะเท่านั้นในวันนี้” เจ้าหน้าที่กล่าว

จากนั้น เจ้าหน้าที่คนเดิมยังตรงไปยังห้องแต่งตัวของ ฟลาคเอลฟ์ พร้อมกับย้ำเตือนว่า  “พวกแกต้องชนะวันนี้ และพิสูจน์ให้เห็นความเหนือกว่าของชาวอารยัน”

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตัวแทนจากเยอรมัน จะเป็นฝ่ายไล่ตีเสมอเป็น 3-3 แต่ สตาร์ท ก็มายิงเพิ่มอีก 2 ประตู และเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์ 5-3 พร้อมกับตอกย้ำว่าพวกเขาเหนือกว่าทีมของนาซีอย่างชัดเจน

ชัยชนะดังกล่าวยังทำให้ ผู้ชมในสนามพากันตะโกนสโลแกนต่อต้านนาซี เพราะนี่ไม่ใช่แค่ฟุตบอลนัดหนึ่งสำหรับพวกเขา แต่เป็นการต่อสู้ระหว่าง ยูเครน และ เยอรมัน และการต่อสู้ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์

แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรม เมื่อมีรายงานว่าหลังเกมนัดดังกล่าว นักเตะของสตาร์ท ล้วนถูกจับกุมจากเกสตาโป โดยไม่ทราบสาเหตุ และส่วนหนึ่งของเชื่อว่าเป็นเพราะพวกเขาทำให้พวกนาซีต้องอับอายจากความพ่ายแพ้

พวกเขาถูกสอบสวนและทรมานอย่างหนักหน่วง และทำให้ นิโคไล โคโรติช ดาวยิงตัวเก่งของสตาร์ท เสียชีวิต ส่วนผู้เล่นที่เหลือก็ถูกส่งไปค่ายมรณะที่ชื่อว่า ซิเรตส์ เพื่อใช้แรงงาน และจบลงด้วยการถูกยิงเป้า แต่ก็มีบางคนที่หนีรอดออกมาได้

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกมนัดดังกล่าวได้รับการขนานนามว่า “แมตช์แห่งความตาย” และทำให้ผู้เล่นทั้งหมดของ สตาร์ท ได้รับการยกย่องในฐานะตำนาน แถมในปี 1964 ผู้เล่นที่รอดชีวิตยังได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ รวมถึงถูกสร้างอนุเสาวรีย์ในปี 1971 เพื่อย้ำเตือนถึงการเสียสละของพวกเขา

เรื่องราวของพวกเขา ยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Two Half Times in Hell (1962), The Longest Yard (1974) หรือ Escape to Victory (1981) หรือที่ฉายในไทยในชื่อ เตะแหลกแล้วแหกค่าย

อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์ ก็ออกมาแย้งว่า “แมตช์แห่งความตาย” ไม่ใช่เรื่องจริง มันถูกบิดเบือน และเป็นเพียงแค่โฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตให้เกลียดชังเยอรมันเท่านั้น

“ความจริงคือการแข่งขันถูกจัดขึ้นจริง แต่ไม่มีแมตช์แห่งความตายอะไรทำนองนั้นหรอก ผู้คนอยากให้พวกเขาเป็นตำนาน เหมือนกับโรบินฮูด” มารินา เชฟเชนโก นักประวัติศาสตร์ ที่ทำงานที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กรุงเคียฟกล่าว

มาร์กา กอนชาเรนโก หนึ่งในนักเตะที่ลงเล่นในเกมนั้น ให้สัมภาษณ์ไว้ในปี 1985 เกมนัดดังกล่าวไม่ได้มีเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธครบมือ ไม่มีการตะโกนต่อต้านนาซี และที่สำคัญ ไม่มีใครถูกฆ่าหลังเกมนั้น

ทว่า มีบางส่วนที่เป็นเรื่องจริง เช่นการถูกเตือนว่า นาซีเยอรมัน อาจจะไม่พอใจ หากพวกเขายังสามารถเอาชนะได้ในเกมนัดที่ 2 หรือการถูกสั่งให้ทำความเคารพแบบนาซี

“ทุกคนบอกกับเราว่า ‘พวกนายกำลังทำอะไร? นี่มันอันตรายของจริง” กอนชาเรนโกกล่าว

นอกจากนี้ หลังเกมนักเตะของสตาร์ท ยังได้ร่วมถ่ายรูปกับ ฟลาคเอลฟ์ ในบรรยากาศที่ผ่อนคลายและยิ้มแย้ม แต่รูปดังกล่าวไม่ได้รับการเผยแพร่ ตลอดระยะเวลาที่โซเวียตยังไม่ล่มสลาย เนื่องจากอาจจะขัดกับเรื่องเล่าที่ถูกใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อ

แต่ถึงอย่างนั้น หลังเกมดังกล่าว ก็มีนักเตะจาก สตาร์ท ที่ถูกจับจริง แต่เชื่อว่าเนื่องมาจากพวกเขาสามารถเอาชนะ เอฟซี รุช สโมสรยูเครนที่ฝักใฝ่นาซี ขาดลอย 8-0 จนทำให้ จอร์จี เช็คซอฟ เจ้าของทีมโกรธแค้น จึงไปแจ้งกับตำรวจลับนาซีว่า นักเตะจากโรงงานขนมปังทีมนี้เกี่ยวข้องกับตำรวจลับของโซเวียต

ก่อนที่นักเตะจาก สตาร์ท จะทยอยเสียชีวิตแบบต่างกรรมต่างวาระ ไล่ ไล่ตั้งแต่ นิโคลา โคโรติค ที่ถูกสงสัยว่าเป็นตำรวจลับของสตาลิน หลังพบรูปถ่ายของเขาในชุด N.K.V.D. หรือ ทรูเซวิช, อเล็กเซ คลิเมนโก และ อิวาน คุซเมนโก ที่มีรายงานว่าถูกยิงขณะเป็นนักโทษในค่ายกักกัน เนื่องจากลักลอบขนไส้กรอก แต่โดนจับได้ และทำให้หนึ่งในนั้นพยายามทำร้ายผู้คุม แล้วโดนยิงสวนจนถึงแก่ความตาย  

ทั้งนี้ การตายของพวกเขายังได้รับการยืนยันจากอัยการของเยอรมันว่า ไม่ได้เกี่ยวกับ “แมตช์แห่งความตาย” โดยระบุว่าไม่มีหลักฐานว่า นักเตะของสตาร์ทถูกฆ่าเนื่องจากจากเอาชนะ ฟาล์คเอลฟ์ ในปี 1942

และทำให้เรื่องนี้เป็นเหมือนเพียงแค่ตำนานเมือง หรือโฆษณาชวนเชื่อจากยุคสหภาพโซเวียตเท่านั้นเอง

“มันคือโฆษณาชวนเชื่อ” จอร์จี คุสมิน ที่เป็นเจ้าของหนังสือประวัติศาสตร์ยูเครนที่ชื่อว่า ‘What Did and Didn’t Happen’ ที่ตีพิมพ์ในปี 2010 กล่าว

“โซเวียตแสดงให้เห็นว่าผู้คนสามารถเสียสละชีวิตเพื่ออุดมการณ์ของโซเวียต และผู้คนในเคียฟก็ชอบเรื่องนี้ มันเป็นตำนานที่ดี แต่ทุกคนควรรู้ความจริง”

อ้างอิง

https://sites.duke.edu/wcwp/research-projects/football-and-politics-in-europe-1930s-1950s/hitler-and-nazi-philosophy/the-death-match/

https://www.nytimes.com/2012/06/24/sports/soccer/a-soccer-match-in-ukraine-during-world-war-ii-echoes-through-time.html

https://www.warhistoryonline.com/world-war-ii/death-match-legendary-game-death-kiev-vs-nazi_germany-m-2.html

https://5wfootball.com/2019/03/10/fc-start-and-the-legend-of-the-death-match-of-1942/

https://www.dw.com/en/death-match-in-the-shadow-of-war/a-16000159

Maruak Tanniyom

Recent Posts

ขอโทษผมด้วย ! โอเว่น ยักไหล่หลังเคยบอก แมนฯ ซิตี้ ติดท็อปโฟร์ยังยาก

เรียกได้ว่าเป็นไวรัลอีกแล้ว เมื่อ ไมเคิ่ล โอเว่น ตำนานนักเตะของสโต๊ค ซิตี้ และลิเวอร์พูลหรือแมนฯ ยูไนเต็ด ที่มักถูกแฟนบอลแซวเรื่องคำวิจารณ์และทายผลลัพธ์ต่างๆ อยู่เสมอว่าความแม่นยำไม่ค่อยมีนั้น ได้ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเองหลัง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ของ เป็ป…

9 hours ago

เจมี่ คาราเกอร์ สับเละ! หลัง เดบิด ราย่า ทำสิ่งที่ไม่ควรทำที่สุด

แม้ว่าในเกมล่าสุดที่อาร์เซนอลสามารถบุกไปเอาชนะคริสตัล พาเชซ มาได้ด้วยสกอร์สุดสวย 5-1 แต่ถ้ามองในรายละเอียดเกมทั้งหมดก็จะเห็นว่าอาร์เซนอลยังมีความผิดพลาดอยู่บ้างเล็กน้อยโดยเฉพาะในครึ่งเวลาแรก หนึ่งในจังหวะหวาดเสียวที่สุดคือในนาทีที่ 10 ที่อาร์เซนอลพยายามจะบิ้วอัพจากหลังแต่คริสตัล พาเลซก็สามารถเพลสซิ่งได้ดี ในขณะนั้นบอลอยู่กับ เดบิด ราย่า เขามองขึ้นหน้าและเลือกจ่ายบอลไปให้ โธมัส ปาเตย์…

10 hours ago

เอียน ไรท์ป้องแรชฟอร์ด! พวกคุณอยากให้เขาล้มเหลวเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองคิดถูก

ถ้าพูดถึง มาร์คัส แรชฟอร์ด ในช่วงนี้ต้องบอกว่าเต็มไปด้วยความเห็นที่แตกต่างกันมากมาย มีทั้งฝั่งที่เห็นใจ เข้าใจ และฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของแรชฟอร์ด ในส่วนของฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับแรชฟอร์ดต่างบอกว่าต้องการให้แรชฟอร์ดย้ายออกจากทีมไปและไม่ว่าทีมไหนที่ได้ตัวไป นั้นจะเป็นฝันร้ายอย่างแน่นอน ซึ่งนี่อาจจะเป็นความคิดเห็นที่สุดโต่งไปหน่อยและไม่ใช่ทุกคนที่คิดแบบนั้นเช่นกันกับ เอียน ไรท์ อดีตตำนานกองหน้าของอาร์เซนอล ที่ออกแสดงความคิดเห็นไว้ว่า “ผมย้ายไปอาร์เซนอลตอนอายุ…

2 days ago

5 สิ่งที่เกิดขึ้น หลังครบรอบ 5 ปีสุดทรหด ของ อาร์เตต้า และ อาร์เซนอล

วันนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (20 ธันวาคม 2562) มิเกล อาเตต้า ถูกแต่งตั้งเป็นเฮดโค้ชคนใหม่ หลังปลด อูไนเอเมรี่ การทำงานตลอด 5 ปี ภายใต้…

2 days ago

มาร์ค กิว : ความผิดพลาดของบาร์ซา ที่มาแจ้งเกิดกับเชลซี

“ความคิดของผมเกี่ยวกับ กิว คือ บาร์เซโลนา ปล่อยเขามาได้อย่างไร?” โจ โคล อดีตมิดฟิลด์ของเชลซีกล่าว เชลซี ยังทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในเกมฟุตบอลสโมสรยุโรป หลังไล่ถล่ม แชมร็อค โรเวอร์ส 5-1 ในศึกยูฟ่า…

3 days ago

ไขข้อสงสัย : ทำไมแฟนสเปอร์สถึงปล่อยบอลลูนสีเหลืองเกมเจอแมนยู คาราบาว คัพ?

ควันหลงจากเกมคาราบาว คัพที่สเปอร์สเอาชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไปได้สุดมันส์ 4-3 โดยในเกมนี้มาเรื่องดราม่ามากมายหลายประเด็น ในทุกคนรู้หรือไม่ว่าในระหว่างเกมที่เดือดไฟลุกแบบนี้มีอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆสนามและนั้นก็ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่สำคัญนั้นคือก็ลูกโป่งสีเหลืองที่แฟนๆสเปอร์สร่วมกันชูขึ้น ว่าแต่ว่าลูกโป่งสีเหลืองคืออะไร พวกเขาส่งสัญญาณถึงใคร มาค่อยๆไล่เลียงกันไปครับ เกิดอะไรขึ้น? ย้อนกลับไปในวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาเกิดการลักพาตัวประชาชนชาวอังกฤษขึ้นหลายคนไปฉนวนกาซา และหนึ่งในนั้นคือ Emily…

3 days ago