โคชิเอ็ง เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในการแข่งขันเบสบอลสมัครเล่นที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้ชมระดับหลายหมื่นคน ที่เข้าไปเชียร์ถึงขอบสนามเป็นประจำทุกปี
ทว่า ครั้งหนึ่งมันเคยเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิทหารนิยมของญี่ปุ่น แล้วทั้งสองสิ่งที่ดูไม่จะเข้ากันนี้เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร?
อันที่จริง สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว เบสบอล ถือเป็นกีฬายอดนิยมของพวกเขา มันเข้ามาในดินแดนอาทิตย์อุทัยตั้งแต่ทศวรรษที่ 1870 ก่อนจะแพร่กระจายผ่านโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ
สำหรับเหตุผลที่กีฬาจากตะวันตกชนิดนี้ได้รับการโอบรับจากชาวญี่ปุ่น เนื่องมาจากการดวลกันระหว่างพิชเชอร์และแบตเตอร์ มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับการดวลดาบของซามูไร
“ชาวญี่ปุ่นพบว่าการดวลกันแบบตัวต่อตัวระหว่างคนขว้างและคนตี คล้ายกับการใช้จิตวิทยาในกีฬาอย่างซูโม หรือศิลปะการต่อสู้” โรเบิร์ต ไวท์ติง ผู้เชี่ยวชาญด้านเบสบอลญี่ปุ่นกล่าว
“มันเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่แยกออกเป็นสองและความกลมกลืนระหว่างความแข็งแกร่งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยเหตุนี้กระทรวงศึกษาฯ จึงเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดีที่จะใช้กำหนดคาแร็คเตอร์ของชาติ”
พวกเขามีการแข่งขันเบสบอลชิงแชมป์ทั่วประเทศครั้งแรกในปี 1915 แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ใช้ชื่อว่า โคชิเอ็ง เนื่องจากแข่งกันที่สนาม โทโยนากะ จังหวัดโอซากา ก่อนที่ 10 ปีต่อมา จะย้ายมาที่สนามโคชิเอ็ง จังหวัดเฮียวโงะ ที่ทำให้รายการนี้มีชื่อเล่นว่า “โคชิเอ็ง” นับตั้งแต่นั้น
หลังจากนั้น โคชิเอ็ง ก็เป็นเหมือนอีเวนท์สำคัญ ที่จัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยมีจำนวนทีมที่เข้าร่วมเพิ่มจากหลักสิบ ไปจนถึงหลักร้อย และแตะหลักครึ่งพันในปี 1930 กลายเป็นทัวร์นาเมนต์ที่ทุกคนต่างเฝ้าคอย
อย่างไรก็ดี โคชิเอ็ง ต้องมีอันพักเบรกชั่วคราวในปี 1941 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่น จำเป็นต้องระดมพลเพื่อทำศึกสงครามจีน-ญี่ปุ่น บวกกับการออกกฎห้ามนักเรียนเดินออกนอกเขตพื้นที่เกินสองจังหวัดในปีดังกล่าว
“สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 กำลังตึงเครียดขึ้นมาทุกขณะ เพื่อชนะสงคราม เราต้องดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบเพื่อขนส่งยุทโธปกรณ์ทางการทหารและของดำรงชีพในการสร้างทางรถไฟในประเทศ คนทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล การเดินทางไปแข่งเบสบอลชิงแชมป์แห่งชาติจึงไม่สามารถทำได้” ประกาศจากทางการ
ทว่า แม้ว่าในปีต่อมา ญี่ปุ่น จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เต็มตัว แต่พวกเขาก็หวนกลับมาจัด โคชิเอ็ง อีกครั้ง ทว่าครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการ สมาคมกีฬานักเรียนจักรวรรดิญี่ปุ่น และหนังสือพิมพ์อาซาฮี ในรูปแบบที่ต่างออกไป
เริ่มตั้งแต่ชื่อการแข่งขันที่เปลี่ยนจาก “การแข่งขันเบสบอลโรงเรียนมัธยมระดับกลางชิงแชมป์แห่งชาติ” มาเป็น “การแข่งขันเบสบอลและการฝึกฝนทางร่างกายโรงเรียนแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น”
ขณะที่โทนสีของการแข่งขัน ก็ใช้โทนเดียวกับทหาร หรือคำที่ใช้เรียกนักกีฬาก็เปลี่ยนไปใช้คำว่า Senshi (選士) ซึ่งเป็นการผสมคำระหว่าง นักกีฬา (選手) และนักรบ (武士) ไปจนถึงห้ามใช้คำว่า บอล หรือ สไตรท์ ในการแข่งขัน เนื่องจากเป็นคำที่มาจากตะวันตก
อีกทั้ง พวกเขายังพยายามสอดแทรกแนวคิดทหารนิยมในการแข่งขัน โดยเฉพาะการติดป้ายผ้าที่เป็นสโลแกนในการรบไว้ที่สกอร์บอร์ดว่า “ชนะและจับหมวกคาบุโตะ (หมวกที่ใช้ในการรบของทหารญี่ปุ่น) ให้แน่น มาออกไปต่อสู้เพื่อสงครามมหาเอเชียบูรพากันเถอะ”
นอกจากนี้ ในการแข่งขันปี 1942 ยังมีกฎที่ได้รับอิทธิพลมาจากทหารมากมาย ที่ถูกเพิ่มเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น ห้ามเปลี่ยนตัวนักกีฬา หรือต้องใช้ผู้เล่นชุดเดิมไปตลอดการแข่งขัน แม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากเป็นนักรบแล้ว ต้องสู้จนตัวตาย
ไปจนถึงการมีกฎว่า ห้ามแบตเตอร์ (คนตี) หลบลูกที่ขว้างมา แม้ว่าจะเป็นเดธบอล (บอลขว้างมาตรงหัว) เพราะการหลบนั้นถือเป็นพวกขี้ขลาด สำหรับทหารเป็นสิ่งที่อภัยไม่ได้
“มันเป็นกฎที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ในระหว่างสงคราม” อุเอโมโตะ ยาสุโนริ อดีตสมาชิกของโรงเรียนพานิชย์โทคุชิมา แชมป์ในครั้งนั้นวัย 91 ปีย้อนความหลัง
แต่ที่สำคัญแล้ว นอกจากเบสบอล ในปีดังกล่าว ยังมีการแข่งขันกีฬาในหลากหลายประเภท ทั้ง ซูโม่ เคนโด กรีฑา รวมถึงสิ่งที่ไม่น่าจะเรียกว่ากีฬาได้อย่าง “การเคลื่อนไหวในสนามรบ” “การสวนสนาม” หรือ “การโจมตีด้วยระเบิดมือ”
สำหรับเหตุผลที่ทำให้ โคชิเอ็ง ปี 1942 มีการแข่งขันในรูปแบบนี้ เนื่องจากในขณะนั้น ญี่ปุ่น กำลังเดินหน้าอย่างเต็มตัว ในสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยมีเหล่าเยาวชนในช่วงอายุ 17-24 ปีเป็นกำลังพลหลักในการรบ
พวกเขาจึงจำเป็นต้องสร้างค่านิยมในการทำสงคราม รวมถึงเชิดชูลัทธิทหารนิยมแก่เหล่านักเรียน และ โคชิเอ็ง ซึ่งเป็นทัวร์นาเมนต์กีฬาระดับเยาวชน ที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง ก็เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังและเผยแพร่แนวคิดนี้
ยิ่งไปกว่านั้น ทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในปฏิบัติการทางข่าวสาร หรือ IO (Information Operation) ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่เอาไว้เบี่ยงเบนความสนใจของประชาชน จากความพ่ายแพ้ในการทำสงครามในยุทธนาวีมิดเวย์ เมื่อ 2 เดือนก่อน ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้แพ้สงคราม อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ เมื่อสงครามสงบ การแข่งขันครั้งนี้ จึงไม่ได้รับการยอมรับในประวัติศาสตร์ของโคชิเอ็ง กลายเป็นทัวร์นาเมนต์ที่เหมือนไม่ได้เคยเกิดขึ้นจริง จนได้รับฉายาว่า “โคชิเอ็งมายา” (幻の甲子園)
ทว่า สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดคือเหล่านักเรียนที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนั้น รวมไปถึงทีมที่คว้าแชมป์ เพราะสถิติที่เกิดขึ้นใน โคชิเอ็ง 1942 จะไม่ได้รับการบันทึกในสถิติของเบสบอลมัธยมปลายชิงแชมป์แห่งชาติ
“น่าเศร้าที่ชัยชนะ 3 ครั้งของพวกเรา ไม่ถูกนับในชัยชนะ 100 ครั้งของเฮอัน มันไม่ใช่ภาพมายา เราได้ยืนอยู่บนผืนดินของโคชิเอ็งอย่างแน่นอน” คิโยชิ ฮาราตะ หนึ่งในสมาชิกของมัธยมเฮอันรองแชมป์ของโคชิเอ็ง 1942 กล่าวกับ Asahi
ราวกับว่ามันคือทัวร์นาเมนต์ที่ ญี่ปุ่น พยายามจะลบให้หายไปจากประวัติศาสตร์
“ชีสรูม” ตำนานที่ไม่เคยมีจริงของท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ส ถ้าพูดถึงสนามฟุตบอลในอังกฤษ ความขลัง ความยิ่งใหญ่ อาจจะยังเป็นเรื่องแมนยู ลิเวอร์พูล เชลซี อาร์เซนอล แต่ถ้าพูดถึงความทันสมัยไม่มีทีมไหนดีไปกว่า ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์สสเตเดี้ยม สนามของสเปอร์สนั้นเป็นสนามที่ได้รับการยอมรับมากในปัจจุบันว่าทันสมัย มีทุกอย่างครบมากที่สุดในอังกฤษ…
รีซ เจมส์ แบ็กขวากัปตันทีมเชลซี ได้รับบาดเจ็บที่แฮมสตริงเป็นครั้งที่ 9 ในรอบ 5 ปี หลังจากบาดเจ็บซ้ำที่บริเวณดังกล่าวระหว่างการซ้อมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา จากการยืนยันของ เอ็นโซ่ มาเรสก้า ซึ่งเผยว่าดาวเตะวัย 24 ปีจะพลาดลงสนามในเกมพรีเมียร์ลีกนัดที่จะบุกเยือน…
ครั้งหนึ่งเขาคือแข้งดาวรุ่ง ที่ถูกเปรียบกับ คริสเตียโน โรนัลโด้ ดาวเตะระดับตำนานของโปรตุเกส อย่างไรก็ดี ตอนนี้ คาอัสโซ ดาราเม นี้เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อเขาเปลี่ยนสถานะตัวเอง จากนักเตะพรีเมียร์ลีก มาเป็นอาชญากรค้ายา และเพิ่งถูกจำคุกจากคดีแทงคน เกิดอะไรกับชีวิตของเด็กหนุ่มรายนี้…
ความประทับใจตอนซ้อม : ทำไมแข้งแมนยูพร้อมใจเรียก “อโมริม” ว่ามูรินโญ 2.0? เรียกว่ายิ่งนานวัน รูเบน อโมริม ยิ่งสร้างความตื่นเต้นให้แฟนๆรอติดตาม หลังล่าสุด Sun Sport รายงานว่านักเตะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดต่างรู้สึกทึ่งและประทับใจกับการซ้อมของ…
วิเคราะห์อนาคต : คีแรน เทียร์นีย์ คัมแบ็คในรอบหลายเดือนแต่อาจไม่ได้อยู่ยาวกับอาร์เซนอล ถ้าพูดถึง คีแรน เทียร์นีย์ กับแฟนๆทีมอื่นอาจจะมองว่าเป็นนักเตะธรรมดาคนหนึ่งไม่ได้พิเศษอะไร แต่กับแฟนๆอาร์เซนอลเขาคือที่รัก และอยากเห็นเขาสวมเสื้ออาร์เซนอลลงสนามอีกสักครั้ง ล่าสุดเมื่อวานนี้ เทียร์นีย์ เพิ่งกลับมาซ้อมได้หลังจากบาดเจ็บหัวเข่าตั้งแต่ในการแข่งขันยูโร นี่ถือว่าเป็นข่าวดีมากๆกับเขาเอง…
ถ้าพูดถึงทีมชาติซานมารีโน หลายคนคงจดจำภาพว่าพวกเขาคือทีมจอมแจกแต้มของยุโรป ปัจจุบันพวกเขาคือชาติที่รั้งอันดับสุดท้ายของโลกบนแรงกิ้งฟีฟ่า (อันดับ 210) แต่เชื่อหรือไม่ว่าตอนนี้ พวกเขาอาจต้องการชัยชนะในเกมสำคัญอีกแค่ 2 นัดเท่านั้น ก็อาจจะเพียงพอให้ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2026 ที่แคนาดา, เม็กซิโก และ สหรัฐอเมริกา…