Categories: Esport NewsEsports

เปิดใจคนในวงการ : เหตุผลที่ “อีสปอร์ต” ไม่ได้สวยหรูตามหน้าสื่อ

แว่วๆ มาเหมือนกันว่า “ตลาดอีสปอร์ต” ของไทยนั้นกำลังไปได้สวย และก็มีสิทธิ์กลายเป็นจุดศูนย์กลางในระดับโลกได้เลย เมื่อดูจากตัวเลขมูลค่าทางการตลาดที่ก้าวกระโดดขึ้นมาสูงถึง 38,000 ล้านบาท

จำนวนการถือกำเนิดของสตรีมเมอร์ที่มากขึ้นทุกวันๆ ความน่าสนใจของตลาดเกมก็มากขึ้นๆ ตามไป เหล่าบรรดาบริษัทเกมหันมาจับกลุ่มธุรกิจ อีสปอร์ต ก็ทำให้ตลาดมันยิ่งกว้างขวางมากขึ้นไปอีก

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในโลกออนไลน์หันมาให้ความสนใจ ทว่ากระแสที่เกิดขึ้นล่าสุดนั้นมันดันเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม เพราะหลายคอมเมนต์มองว่าข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้นไม่ได้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง

มีเสียงวิพากษ์จารณ์มากมายถึงตัวเลขมูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท เพราะมันคือมูลค่าอุตสาหกรรมเกมที่มาจาก การเติมเงิน, การจ้างทำเกม, การโฆษณาโดยตรงในเกม โดยมีได้เกี่ยวข้องกับ อีสปอร์ต แบบโดยตรง และมันก็ไม่ได้มีมูลค่าที่สูงขนาดนั้น

ว่ากันว่าผู้คนในวงการนั้นรู้ซึ้งดีถึงเรื่องนี้กันอยู่แล้วทั้งเบื้องตื้น ลึก หนา บาง ถ้าวงการ อีสปอร์ตไทย มันกำลังไปได้สวยจริงๆ อย่างที่สื่อรายงาน ทำไมมันถึงมีการถกเถียงมากมาย ? ทำไมถึงมีหลายๆ ทีมที่ต้องยุบทิ้ง ? โดยเฉพาะในปี 2023 มันมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเยอะมาก นี่ยังไม่รวมอีกหลายๆ ทีมที่อาการร่อแร่สาหัสจวนตายอีกต่างหาก

ส่วนตัวได้มีโอกาสไปสอบถามคนที่อยู่ในวงการถึงปัญหาต่างๆ ว่าทำไมวงการ อีสปอร์ตไทย ถึงไม่ได้ก้าวไปไหน ? เหมือนจะแย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ หลายคนอาจจะติดภาพเมื่อช่วง 3-4 ปีก่อนทั้งมันพีคมากๆ แต่ตอนนี้กลับไม่เหมือนเดิมแล้ว

“พี่อัจ” จาก Loftsgame บอกว่า “ปัจจัยหลายอย่างมากครับ ทั้งการบริหาร ตัวนักกีฬาเองด้วย ที่ขาดทุนกันส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะนักกีฬาที่คิดว่าตัวเองทำหน้าที่แค่เล่นเกม เพื่อชัยชนะ เงินเดือน ส่วนแบ่งเงินรางวัล แต่ลืมว่าไปสโมสรก็ต้องการสปอนเซอร์”

“สปอนเซอร์ ก็อย่างที่ทราบอ่ะครับ เท่ากับเราต้องขายของให้เขา ต้องปั้นนักกีฬาเองให้เป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ขายของด้วย อายุของนักกีฬา ความมีวินัยก็มีส่วนครับ นักกีฬาที่โดนลงโทษจากเรื่องทัศนคติก็มีจำนวนไม่น้อย”

ส่วนในมุมมองของ “พี่ซัน” ดลประภพ เทียนดำ หรือ “Sunwaltz” นักพากษ์ อีสปอร์ต ชื่อดัง บอกว่า “จริง ๆ ต้องบอกว่า วงการ Esports ไทย ถ้าเทียบกับปีก่อน ๆ มันไม่ได้แย่ลงครับ มันเติบโตขึ้นทุกปี มีอีเวนท์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ แต่มันใช้คำว่ามันกระจุกเป็นเกม ๆ (ในแง่จำนวนคนดู มีแค่ RoV , Freefire , PUBG , FC Online , Valorant , Dota2 , LoL) แล้วมีจำนวนเกมที่ไม่มากที่จะทำแบบนั้นได้ครับ”

“ส่วนใหญ่พฤติกรรมคนไทยเล่นเกมกันเยอะ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสนใจ Esports ขนาดนั้น ถ้าเราเทียบถึงปริมาณของเพื่อนบ้านยกตัวอย่างก็ เวียดนาม จะมีความ Crazy เรื่อง Esports มากกว่า แต่กำลังทรัพย์การจ่ายเงินภายในเกมคงจะไม่เท่าปริมาณในบ้านเราครับ”

“ที่มาพูดกันในเรื่องตัวเลขที่ไม่เป็นจริง เป็นเพราะว่าสื่อมักรวบรวมเอาตัวเลขจากฝั่งของรายได้จากการเติมเกม มารวมตัวเลขกับฝั่ง Esports ครับ ซึ่งแหล่งที่มารายได้ของฝั่ง Esports ก็ให้คิดสภาพว่าคล้ายวงการฟุตบอลหารสองไป เพราะมันยังเล็กอยู่ในแง่ของ Audience ในประเทศไทยถ้าเทียบกับ Sports ซึ่งถามว่ากำไรเกิดขึ้นมากไหม ก็ต้องตอบว่าแล้วแต่โปรเจคของแต่ละบริษัทกันไปครับ”

“ที่แน่ ๆ คือมันไม่ได้อู้ฟู่เหมือนตัวเลขที่เอาไปแจ้งกันแน่นอน เพราะบุคลากรในวงการ Esports ส่วนใหญ่ เจอปัญหาเรื่องภาวะทางการเงินจากบริษัทค่อนข้างมากครับ แล้วด้วยความที่วงการมันไม่ได้ใหญ่โต พอโดนพิษเศรษฐกิจเข้าไปมันก็เลยยิ่งโดนบีบอัดเยอะ ซึ่งก็คงเป็นปกติของทุกธุรกิจยิ่งเล็กยิ่งโดนบีบอัด ลดไซส์ลงมาเพื่อความอยู่รอด”

“แต่สื่อกลับเอาไปบอกว่า วงการ Esports ไทยนั้นมันฉ่ำรายได้ มันฉ่ำอย่างไรในเมื่อตอนนี้มันถดถอยลงครับ วงการไม่ได้ต่ำลง แต่มันกำลังประคองตัวเพื่อเอาตัวรอด กลับเข้าไปสู่ Value ที่มันเคยเป็น ในปีก่อน ๆ วงการนี้มันเคยโดน Value ไว้ว่าเป็น New Wave ของวงการกีฬา เลยมีสปอนเซอร์เข้าไปมาก สโมสรต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงการบิดค่าตัวนักกีฬากันหลักแสนหลักล้านเรื่องสัญญา”

“แล้วก็มาจากนายทุนทั้งหลายที่เหมือนเทเงินเข้าวงการแข่งกัน ค่าตัวเพดานนักกีฬาหรืออินฟลูสาย อีสปอร์ต มันก็สูงปรี๊ด แต่พอถึงจุดนึงพอเศรษฐกิจโลกมันไม่ดี มันก็ต้องกลับมาถามหา Value ที่ควรเป็น มันก็เลยเกิดการฟองสบู่แตกในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่วงการอีสปอร์ต แต่วงการเกมด้วยก็เช่นกันครับ” 

ในปัจจุบันมีทีม อีสปอร์ต มากมายที่ต้องยุบหรือปิดตัวลงไปหลักๆ ก็เพราะค่าใช้จ่ายมันสูงเกินไป และมันก็ไม่สมดุลกับเงินรางวัลตามที่ไปแข่งตามทัวร์นาเมนต์จริงไหม ? พวกแหล่งเงินทุนสปอนเซอร์ส่วนใหญ่ก็แทบไม่ค่อยมีพวกเกี่ยวกับเกมเท่าไหร่จริงไหม ?

“พี่ซัน Sunwaltz” บอกต่อว่า “ที่หลายสโมสรยุบมีหลายปัจจัยครับ เช่นเรื่องของเกมที่นักกีฬาในสโมสรนั้น ๆ ไม่มีการแจ้งโรดแมพการแข่งขันที่ชัดเจน หรือแจ้งแล้วแต่รายได้เงินรางวัลไม่คุ้มเสี่ยงที่จะลงทุน ก็จำเป็นจะต้องถอนตัวออกไปครับ”

“เรื่องค่าใช้จ่ายภายในเยอะและไม่สมดุลอันนี้เรื่องจริงครับ ส่วนใหญ่การแข่งขันในประเทศไทย เงินรางวัลมักไม่พอในการ Cover ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสโมสรแทบจะเป็นปกติเลยครับ ส่วนใหญ่จะอยู่รอดได้จากสปอนเซอร์ตัวสโมสรโดยตรงเสียมากกว่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตรง สปอนเซอร์สมัยนี้มองการสปอนสโมสรเป็นเรื่องไม่คุ้มค่าแล้วครับ เพราะผลตอบกลับด้าน Media มันไม่แมตช์กับเงินลงทุน เอาไปลงทุนในสื่อด้านอื่นดูมีความคุ้มค่ามากกว่าครับ.

“สปอนเซอร์ส่วนใหญ่ใช่ครับ เป็นภายนอก จะสังเกตได้ว่าสปอนเซอร์สโมสรในไทย แทบไม่มีแบรนด์ IT เลย เป็นวงนอกทั้งนั้นครับ แล้วค่าตัวของนักกีฬาเองในปัจจุบัน ถ้าเป็นเกมระดับท็อปนั้นค่าตัวสูงแบบสูงมาก ๆ เลยครับ แต่สิ่งที่สโมสรได้กลับมานั้นกลับไม่สามารถ Sustain ให้อยู่ได้ในระยะยาวครับ”

ในมุมของ “พี่อัจ Loftsgame” มองว่า “พวกสปอนเซอร์ไม่ค่อยเข้าใจรูปแบบของ อีสปอร์ต ด้วยไหม ? ก็อาจจะใช่ บางทีสปอนก็ไม่ได้มาจากสายเกมจ๋า ไปทางร้านฟาสต์ฟู้ดบ้าง ขายของ ขายขนมบ้าง อย่างสมมติคุณมีสังกัด สปอนของคุณคือเครื่องดื่ม อันนี้พอทำได้ ดื่มตอนอยู่ Boot Camp ดื่มก่อนแข่งไรงี้ได้ แต่ถ้าสปอนเป็นสีทาบ้านจะขายยังไง ในยุคพีคๆ แต่ก่อนยังมีแบรนด์ไอที แบรนด์เกมมิ่งเกียร์ ปีหลังๆ แทบไม่เหลือเลย”

เมื่อเจอปัญหาแบบนี้แล้วมันจะเป็นปัญหาในระยะยาวไหม ? เพราะการยืนระยะของเกมๆ หนึ่งไม่ได้เหมือนกีฬาแบบฟุตบอลหรือบาสเกตบอล มันเป็นกีฬาเฉพาะกลุ่มๆ เล็กๆ เท่านั้น มันจะมีโอกาสกลับมาพีคหรือบูมเหมือนเมื่อช่วง 3-4 ปีก่อนรึเปล่า ?

“พี่ซัน Sunwaltz” บอกว่า “ตอนนี้บางเกมยังอยู่รอดได้ เพราะจำนวน Audience และลูกค้าที่เล่นเกมยังสูงมากอยู่ครับ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็ RoV , Freefire , Valorant , FC Online 

ถ้ามีเกมแนวๆ นี้เกิดขึ้นอีกมันจะเป็นการลดความแน่นอนไหม ? “มันเป็นวัฐจักรครับ ผมเชื่อว่ายังไงมันก็คงจะเกิดขึ้นอีก แค่ในช่วงเวลาไหนครับ ก็วิ่ง ๆ ทำงานกันไปจนถึงจุดนึงมามองรอบตัวแล้ว วงการก็จะถูกคนมองกันเองว่าอยู่ในจุดใด ผมว่าช่วงนี้เป็นจุดเรียนรู้ของบุคลากรในวงการฮะ”

ทางด้าน “พี่อัจ” จาก Loftsgame มองว่า “ปีหน้าสถานการณ์ก็อาจจะยังเป็นแบบนี้แหละ บางทีอาจจะลงกว่านี้ก็เป็นได้”

บางคนที่อยู่ภายนอกอาจจะเข้าใจว่าสื่อเกมมันน่าสนใจและกระแสดีสุดๆ แค่นั่งเล่นเกมทั้งวันก็ได้เงินแล้ว เด็กๆ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจเพราะคอยตามดูพวกสตรีมเมอร์ที่มาเล่นเกมโชว์และได้เงินจากค่าโดเนท 

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วยหรือส่งเสริมให้เด็กเอาดีทางด้านนี้ตั้งแต่อยู่ในวัยเรียนรู้ ไหนจะมีตัวเลขมูลค่าอุตสาหกรรมที่คนเขาเข้าใจกันแบบผิดๆ อีกต่างหาก

“เขาแยกไม่ออกระหว่างอุตสาหกรรมเกมกับอุตสาหกรรมอีสปอร์ตครับ บางคนคิดว่าทำสื่อเกมและมันน่าสนใจ ได้นั่งเล่นเกมทั้งวัน เด็กๆ มันถึงอยากเป็นกันเยอะ อาชีพนี้ได้เงินง่ายแค่นั่งเล่นเกม เอ็นเตอร์เทนคนดู พอลองทำเข้าจริงๆ มันก็ไม่ใช่ไง คนที่เขาประสบความสำเร็จมันมี แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน”  “พี่อัจ” จาก Loftsgame กล่าว

และนี่ก็เป็นเรื่องราวของโลก อีสปอร์ตไทย จากคนในวงการทซึ่งคนภายนอกอาจจะเข้าใจกันแบบผิดๆ เรื่องตัวเลขมูลค่าทางอุตสาหกรรมนั้นจริงๆ มันก็คือมาจากเกม การเติมเงิน, การจ้างทำเกม, การโฆษณาโดยตรงในเกมโดยมีได้เกี่ยวข้องกับ อีสปอร์ต แบบโดยตรง 

ส่วนผู้คนในวงการ อีสปอร์ต นั้นก็อย่างที่ทราบกันว่ามีปัญหาอยู่หลายๆ จุดเลยเหมือนกันไล่ตั้งแต่ตัวนักกีฬาเอง หลายๆ ทีมที่ต้องยุบไปก็เพราะพิษทางเศรษฐกิจ การขาดทุน การขาดผู้เข้ามาช่วยสนับสนุนที่เข้าใจในแนวทางของ อีสปอร์ต ค่าใช้จ่ายไม่บาลานซ์กับรายรับในเรื่องของเงินรางวัล รวมไปถึงกระแสความนิยมของเกมแต่ละเกม และอีกมากมาย

ถึงมันจะเป็นกีฬาเล็กๆ เฉพาะกลุ่ม และดูไม่มีความยั่งยืนเหมือนกีฬาอื่นๆ โดยทั่วไป แต่เท่าที่ฟังจากผู้คนวงในมาพวกเขายังเชื่อมั่นว่าวงการ อีสปอร์ตไทย จะกลับมาฟื้นอีกครั้ง เพียงแค่ต้องใช้เวลาในการประคองตัวเองและค่อยๆ หาความสมดุลอย่างที่มันควรจะเป็นเท่านั้น

Kim Junumporn

Share
Published by
Kim Junumporn

Recent Posts

เรนโตะ ทาคาโอกะ : ตัวโหดม.ปลายที่เซาแธมป์ตันเซ็นสัญญาตั้งแต่เรียนไม่จบ

เขาเพิ่งจะโชว์ลีลาการลากเลื้อยจากฝั่งตัวเองไปซัดประตูปิดกล่องให้โรงเรียนคว้าแชมป์จังหวัด พร้อมได้สิทธิ์เข้าไปเล่นในศึกชิงแชมป์ฤดูหนาวทั่วประเทศ เขาคือคนที่ติดทีมชาติญี่ปุ่นชุด U17 ตั้งแต่อยู่ ม.4 และอยู่ในทีมชุดแชมป์เอเชีย 2023 ที่ประเทศไทย และเขาคนนี้ก็เป็นเพียงไม่กี่คนที่มาจากทีมโรงเรียนที่ติดทีมชาติญี่ปุ่นไปเล่นฟุตบอลโลก U17 2024 รอบสุดท้าย ก่อนจะซัดไป 4…

5 mins ago

มาก่อนกาล : เกลียด LGBT และ Anti WOKE ที่ทำให้ อีลอน มัสก์ ด่า “เคลิฟ” ว่า “ไอ้ผู้ชาย”

เรื่องราวของ ไอมาน เคลีฟ นักชกแชมป์เหรียญทองโอลิมปิกที่ ปารีส กำลังเป็นประเด็นเพราะมีการเปิดเผยว่าจริง ๆ แล้วเขาเป็นผู้ชาย โดยในโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมา เคลิฟ สร้างกระแสเป็นอย่างมาก เพราะชกนักชกอิตาลีจนฝั่งอิตาลีต้องขอยอมแพ้ และบอกว่านี่คือหมัดที่หนักที่สุดในชีวิต ซึ่งตอนนั้นกระแสก็ไปหลายทาง บอกคนบอก…

18 hours ago

คล้ายๆเลยนะ! ย้อนเหตุการณ์ “อันเช่” โดน มาดริด ปลดปี 2014-15

"อันเชล็อตติ ทำอะไรผิดน่ะเหรอ ? ... ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน" นี่คือคำตอบผ่านสื่อของของ ฟลอเรนติโน่ เปเรซ ประธานสโมสร เรอัล มาดริด ที่ไล่ คาร์โล อันเชล็อตติ ออกจากการเป็นกุนซือในฤดูกาล…

19 hours ago

โจชัวร์ เซิร์กซี : ดีลปริศนาที่ เทน ฮาก ไม่เคยอยากได้ และ อโมริม ก็คิดว่าจะไม่เอา

แม้ว่าจะ เอริค เทน ฮาก ถูกปลดจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ในฤดูกาลนี้ แต่ต้องยอมรับว่าการซื้อขายนักเตะของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ภายใต้การคุมทีมของเขา มีความคึกคักเป็นพิเศษ ด้วยผู้เล่นขาเข้า 6 รายในราคารวมกันเกือบ 200…

24 hours ago

เกลียดจัดแต่ดันต้องเล่นด้วยกัน! ความวุ่นวายของฝรั่งเศสยุค คันโตน่า vs ชิโนล่า

เอริค คันโตนา คือนักเตะที่แฟน ๆ ของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ไม่มีวันลืมลง เขาเป็นคนที่ย้ายมาอยู่กับทีมในปี 1992 และเป็นคนที่เริ่มต้นยุคสมัยความยิ่งใหญ่ของทีมปีศาจเเดงก็คงไม่ผิดนัก ไม่ว่าสตาฟโค้ช, เพื่อนร่วมทีม และแม้แต่ เซอร์…

2 days ago

เหตุผลสุดพระเอกที่ทำให้ วาร์ดี้ เลิกเล่นทีมชาติตั้งแต่ช่วงพีก

เรื่องของ เจมี่ วาร์ดี้ นั้นชัดเจนมาก นับตั้งแต่เขาเเจ้งเกิดกับ เลสเตอร์ ซิตี้ เขาก็กลายเป็น "เดอะ แบก" ของทีมมาจนถึงทุกวันนี้ โดยช่วงฤดูกาล 2015-16 ที่เลสเตอร์คว้าเเชมป์พรีเมียร์ลีกนั้นเป็นปีที่วาร์ดี้พีกสุด ๆ…

2 days ago