Trick การดูแลตัวเองสไตล์ มาร์กอส ยอเรนเต้ เน้น Paleolithic diet หรือ กินอาหารแบบมนุษย์ยุคหิน

Rittichai Sermsuteeanuwat

April 10, 2024 · 1 min read

Trick การดูแลตัวเองสไตล์ มาร์กอส ยอเรนเต้ เน้น Paleolithic diet หรือ กินอาหารแบบมนุษย์ยุคหิน
ฟุตบอล | April 10, 2024
Trick การดูแลตัวเองสไตล์ มาร์กอส ยอเรนเต้ เน้น Paleolithic diet หรือ กินอาหารแบบมนุษย์ยุคหิน

นักกีฬาทุกคนต่างก็มีเคล็ด (ไม่) ลับและวิธีดูแลตัวเองที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องการออกกำลังกายและเรื่องโภชนาการ

หากพูดถึงเรื่องโภชนาการหรืออาหารการกินเชื่อได้เลยว่าหนึ่งในคนที่น่าจะไม่เหมือนกันนั่นก็คือ มาร์กอส ยอเรนเต้ เพราะพี่แกใช้วิธีแบบ “อาหารมนุษย์ยุคหิน”

หรือเรียกอีกชื่อก็คือ Paleolithic era การกินอาหารแบบมนุษย์ถ้ำนั้นเน้นการกินที่เป็นตามธรรมชาติในแบบสัญชาตญาณของคนยุคหิน เช่น พวกเนื้อสัตว์ ถั่ว และ ผักผลไม้ หรืออะไรก็ได้ที่หาได้ตามป่าสมัยโบราณ โดยไม่มีใครเครื่องปรุงแต่งรสชาติใดๆ ทั้งสิ้น

การทำอาหารนั้นจะไม่มีปรุงแต่ง แค่ทำให้สุกอย่างเดียวพอ และถ้าจะถามว่าพวก ข้าว แป้งสาลี พวกนี้ล่ะ ? ของจำพวกนี้ไม่ได้จัดอยู่ใน “อาหารมนุษย์ถ้ำ” เพราะว่ากันว่าในยุคหินแค่วิ่งหนีไดโนเสาร์ก็เหนื่อยแล้วจะหาเวลาที่ไหนมานั่งปลูกข้าว ดังนั้นพวก พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง หรือแม้แต่ ซีเรียล ก็ตัดไปได้เลย

ว่ากันว่าช่วงเวลาการกินอาหารแบบมนุษย์ยุคหินนี้สิ้นสุดเมื่อราว 10,000 ปีก่อนปัจจุบัน เนื่องจากมนุษย์ได้เริ่มทำปศุสัตว์ไร่นาเพื่อสะสมอาหารและเริ่มมีการปรุงอาหารในรูปแบบต่างๆ กัน

มาร์กอส ยอเรนเต้ กล่าวว่า “มันเป็นการกินที่เขาเรียกกันว่า Paleolithic (ยุคหินเก่า) คุณต้องกำจัดอาหารที่มาจากการแปรรูปทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็น พาสตา, ขนมปัง, แป้งสาลี หรือข้าว รวมไปถึงนมด้วย จะมีแค่ชีสในคุณภาพสูงเท่านั้น”

“ผมกินหมดทุกอย่างพวก เนื้อสัตว์ เช่น สเต๊ก ที่ผมชอบ, ปลา, ไข่, ผัก และพวกคาร์โบไฮเดรตที่ได้จาก มันฝรั่ง, มันเทศ และ มันสำปะหลัง ผมมุ่งมั่นไปที่ Paleolithic diet แบบ 100 เปอร์เซนต์ มันเป็นไลฟ์สไตล์การวิถีชีวิต”

“ผมทำแบบนี้ก็เพื่อสุขภาพไม่ใช่เพราะฟุตบอล นั่นก็เพื่อเป็นการดูแลตัวเองต่อไป”

สิ่งที่กินได้ใน Paleolithic diet : ผลไม้, ผัก, ถั่ว, ไข่, เนื้อไม่ติดมันโดยเฉพาะสัตว์ที่กินหญ้า, ปลา, น้ำมันจากผลไม้และถั่ว เช่น น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันวอลนัท

สิ่งที่กินไม่ได้ใน Paleolithic diet : ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี, พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วเลนทิล ถั่วลิสง, ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมและชีส, น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์, เกลือ, ผักที่มีแป้ง เช่น ข้าวโพด จิกาม่า ถั่วลันเตา, มันฝรั่งขาว และพวกอาหารแปรรูป